การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

นวนันท์ ปาระกุล
เจนยุทธ์ ปาระกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร


การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานเทศบาลและพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร จำนวน 141 คน จากประชากรทั้งหมดจำนวน 216 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.968 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์สถิติพรรณนาที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 11 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured Interview Form) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร พบว่า ความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ในภาพรวมอยู่ในลำดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.65) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในด้านการวางแผน มีความคิดเห็นในลำดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 3.78) รองลงมาคือ ด้านการธำรงรักษา (gif.latex?\bar{x} =3.65) และน้อยที่สุดคือ ด้านการพัฒนา (gif.latex?\bar{x} =3.57) ตามลำดับ สำหรับความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ในภาพรวม อยู่ในลำดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.54) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปุริสเมธะ มีความคิดเห็นในลำดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 3.66) รองลงมาคือ ด้านสัสสเมธะ ( gif.latex?\bar{x}=3.60) และน้อยที่สุดคือ ด้านวาชเปยยะ (gif.latex?\bar{x} =3.32)

  2. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร พบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในลำดับต่ำ (r = 0.249**) เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสัสสเมธะ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในลำดับปานกลาง ด้านปุริสเมธะและด้านสัมมาปาสะ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในลำดับต่ำ ส่วนด้านวาชเปยยะ มีความสัมพันธ์เชิงลบในลำดับต่ำ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

  3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักราชสังคหวัตถุของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร พบว่า ไม่ได้มีการวางแผนอัตรากำลังคนไว้เผื่ออนาคต พนักงานจ้างตามภารกิจและพนักงานจ้างทั่วไปบรรจุจากบุคคลใกล้ชิด ไม่เปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นพนักงาน ผู้บริหารท้องถิ่นบางคนไม่ส่งเสริมพนักงานให้ไปเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ ฉะนั้น ควรกำหนดกรอบพนักงานให้สอดคล้องกับงาน โดยวางแผนอัตรากำลังคนอย่างต่อเนื่องทุกปี สำหรับการรับสมัครพนักงานก็ควรติดประกาศและ/หรือประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วไป จะต้องมีเกณฑ์ในการรับบุคคลเข้าทำงานโดยพิจารณาจากความรู้ความสามารถ โดยรับทั้งจากบุคลากรภายในหรือภายนอกหน่วยงาน ส่งเสริมพนักงานให้เข้ารับการฝึกอบรมและพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชญานิศฐ์ รักแจ้ง. (2556). “การให้บริการของสำนักงานประกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ตามทัศนะของผู้ประกันตนเขตกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

2. เดชากร แก่นเมือง. (2555). “การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช”. วิทยานิพนธ์การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

3. พระเดชา กิตฺติโก (โชติธราธรรม). (2558). “การบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนธรรมภิรักษ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

4. พระถวิล เทวสโร (สิงห์เทพ). (2557). “การบริหารงานตามหลักราชสังคหวัตถุ 4 ของเทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

5. พระมหาวิทูรย์ ธมฺมวุฑฺโฒ (บุญมาพิลา). (2556). “การบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอยางสีสุราชสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคามเขต 2”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.