การบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรมของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์

Main Article Content

ชนากานต์ สิงห์เรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ 2) ระดับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัย 3) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ จำนวน 550 รูป/คน และได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 226 รูป/คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี และมอร์แกน การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : SD) การทดสอบด้วยค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรรวยทางเดียว ในกรณีที่ตัวแปรต้น ตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)  สำหรับการวิจัยิเชิงคุณภาพ ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน 7 รูป/คน และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า


  1. สภาพการบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ มี 4 ด้าน คือ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ด้านบริการ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านบุคลากรโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านบุคลากร ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ

  2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่านิสิตที่มีอายุ สาขาวิชาที่ศึกษาและชั้นปีที่ศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ ทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. แนวทางในการบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ ควรจัดหาทรัพยากรที่มีคุณภาพ และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ ควรนำมาวิเคราะห์ตามระบบสากลของห้องสมุดเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ ควรจัดทำคู่มือขั้นตอนการใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ควรจัดทำป้ายแสดงหมวดหมู่หนังสือภายในชั้นควรจัดบรรยากาศในห้องสมุดให้น่าเข้ามาใช้เหมาะเป็นแหล่งเรียนรู้ค้นคว้าของผู้ใช้บริการผู้ให้บริการควรพูดจาดีมีประโยชน์ คำนึงถึงประโยชน์ของบุคคลที่มารับบริการและเป็นคนที่เสมอต้นเสมอปลาย สามารถควบวามอารมณ์ของตนเองได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เจนเนตร มณีนาค. ดรุณรัตน์ วิบุลศิลป์. ภาวินี บุญเกษมสันติ และอสา เตติวัฒน์. (2546). สร้างองค์กรอัจฉริยะในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซัม ซิสเท็ม จำกัด.

2. ฐิติรัตน์ สุวรรณปราโมทย์. (2551). “การพัฒนารูปแบบห้องสมุดที่พึงประสงค์เพื่อสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ.

3. วรรณภรณ์ อนุอัน. (2549). “กลยุทธ์และปัจจัยบ่งชี้การพัฒนาสู่องค์กรการเรียนรู้ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

4. สุทธิลักษณ์ ตรองใจ. (2554). “รูปแบบห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

5. Davenport. T. H. and Prusak, L. (1998). Working knowledge: how organizations manage what they know. Boston, MA: Harvard Business School Press.

6. Goldberg, K. I. (2000). “Organizational learning in the public sector: a study of the University of Arizona library learning organization”, Dissertation Doctor of Public Administration. Graduate shool: University of La Verne.

7. Krejcie, Robert V. & Morgan, Daryle W. (1970). Determining Sample Size for Research Activitie. Educational and Psychological Measureme, 30 (3).

8. Lapidus, M. (2003). “Library services for pharmacy and health sciences students: results of survey”. The Journal of Academic Librarianship. 29 (4).

9. Marquardt. M. J. (1960). Building the learning organization: a systems approach to quantum improvement and global success. New York: McGraw-Hill Book.

10. McCarthy. C. A. (1997). “A reality check: the challenges of implementing information power in school library media programs”. School Library Media Quarterly.25(4).