พุทธวิธีดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการดูแลตนเองของผู้ป่วย 2) เพื่อศึกษาการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3) เพื่อประยุกต์ใช้พุทธวิธีการดูแลตนเองของพระภิกษุผู้ป่วยโรคเบาหวาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยทำการศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิ (Primary Source) คือ พระไตรปิฎก และเอกสารทุติยภูมิ (Secondary Sources) หนังสือเอกสารงานวิจัยและตำราวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปผลในเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1) สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับมนุษย์ แต่เมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมา สิ่งสำคัญอันดับแรก คือการดูแลตนเองก่อน การดูแลตนเองนั้นในยามปกติเราก็ดูแลตนเองกันอยู่แล้ว ถึงเวลาป่วยก็ต้องดูแลตนเองก่อน ถ้าไม่ไหวจริง ๆ จึงให้บุคคลอื่นช่วยดูแล ในปัจจุบันมีทฤษฎีการดูแลตนเองอยู่หลายทฤษฎี เช่นทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม ทฤษฎีการปรับตัวของลอย ทฤษฎีพยาบาลของคิง เป็นต้น
2) โรคเบาหวานนั้นเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ มีผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี โรคเบาหวานแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ (1) โรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน มีปัจจัยหลักคือ ปัจจัยทางพันธุกรรมพันธุ์ และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (2) โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน มีปัจจัยหลายประการ เช่น ความอ้วน พันธุกรรม ขาดการออกกำลังกาย ความผิดปกติของตับอ่อน ความเครียด การใช้ยาคุมกำเนิด เป็นต้น อาการทั่วไปของผู้ป่วยโรคเบาหวานมี 7 อย่าง คือ (1) ปัสสาวะบ่อย (2) คอแห้งดื่มน้ำมาก (3) หิวบ่อยท่านจุ (4) แผลหายยาก (5) คันตามผิวหนัง (6) ตาพร่ามัว (7) ชา และปวดตามปลายมือปลายเท้า การดูแลตนเองทำได้ 4 ประการ คือ (1) คุมด้านโภชนาการ (2) ออกกำลังกาย (3) การใช้ยา (4) ดูแลเท้า ก็จะสามารถดำเนินชีวิตเหมือนบุคคลปกติทั่วไป
3) การประยุกต์ใช้พุทธวิธีดูแลตนเองของพระภิกษุผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้น แบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ (1) การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทางกาย ซึ่งพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ดูแลตนเอง 2 ด้าน คือ ก) การควบคุมโภชนาการ ข) การออกกำลังกาย ซึ่งสอดคล้องกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานตามแพทย์แผนปัจจุบัน (2) การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทางใจ โดยทรงสอนให้มีความมุ่งมั่นที่จะมีชีวิตอยู่ รู้เท่าทันกิเลส การเจริญจิตภาวนา และทรงสอนให้ศึกษาและพิจารณาหลักธรรม ได้แก่ อปัณณกปฏิปทา 4, อิทธิบาท 4, สติปัฏฐาน 4, โพชฌงค์ 7 และ คิริมานันทสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคิริมานนทสูตรได้ระบุชื่อโรคเบาหวานมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว หากแต่มีข้อค้นพบว่า พระสงฆ์ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานในปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่ทราบวิธีการนำหลักธรรมเหล่านี้มาใช้ดูแลตนเองทางด้านจิตใจ หากมีการเผยแพร่องค์ความรู้ส่วนนี้ให้กว้างขวางและแพร่หลาย จะช่วยให้พุทธวิธีดูแลตนเองของพระภิกษุผู้ป่วยโรคเบาหวาน บังเกิดผลทำจิตใจสงบ เยือกเย็น สามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยดี และใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุข
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. (2541). สุขบัญญัติแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข.
คณะแพทย์อาสา. (2556). อนาพาธ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ฮาวฟาร์.
เทพ หิมะทองคำ และคณะ. (2548). ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: จูนพับลิชชิ่ง.
บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2538). ผู้ป่วยเบาหวาน: การดูแลแบบองค์รวม. นครปฐม: ฝ่ายการพิมพ์ ศูนย์อาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาท. (2512). ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์. (2541). พระคัมภีร์อภิธาสัปปทิปิกา. กรุงเทพ
มหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ภาวนา กีรติยุตวงศ์. (2544). การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน: มโนมติสำคัญสำหรับการดูแล, พิมพ์ครั้งที่ 2. ชลบุรี: บริษัท พี เพรส จำกัด.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
รัชนีวรรณ แก้วรังศรี. (2552). รู้ทันเบาหวาน ป้องกัน ควบคุม และดูแล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท รามาการพิมพ์ จำกัด.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีและอื่น ๆ. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร). (2523). มหาสติปัฏฐานสูตรแปล และคิริมานนทสูตรแปล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. (2559). การบำรุงรักษาสุขภาพสำหรับบรรพชิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุทิน ศรีอัษฎาพร และวรรณี นิธิยานันท์. (2548). โรคเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.
อภิวรรณณัฐ มนวรกุล และคณะ. (2554). คู่มือการดูแลตนเองโรคเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทบียอนด์พับลิสชิ่งจำกัด.
(2) วารสาร
นริสา วงศ์พนารักษ์. (2556). ทฤษฎีการพยาบาลของคิง (King’s Nursing theory) : แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการพยาบาล.วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปีที่ 31 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม): 17.
(3) วิทยานิพนธ์
ศุภลักษณ์ จันหาญ. (2546). การบริการสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลกันทรวิชัยจังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์ ส.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
(4) ออนไลน์
Thai Love Health (TLH). (2561) โรคทางโภชนาการ : Top 10 โรคร้ายเสี่ยงตายสูงสูดของคนไทยเพราะชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www. thailovehealth.com › โรคทางโภชนาการ (18 เมษายน).
เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. (2561). ทฤษฎีการปรับตัวของรอย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https:// www.gotoknow.org/posts/115432 (18 พฤษภาคม).