ประชาธิปไตยแบบสังคมไทย

Main Article Content

ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการชิ้นนี้พยายามที่จะศึกษาวิเคราะห์ถึงระบอบการปกครองไทย พบว่า เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ คือ การปกครองที่สามารถจะพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะตามที่สังคมต้องการที่จะต้องแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโดยรวม ปัจจุบันสังคมไทย กำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี แบบไร้พรมแดนที่สังคมเข้าถึงกันอย่างง่ายดาย โดยไร้ขีดจำกัด ซึ่งอยู่บนพื้นฐานแห่งยุคแบบเสรีของทุนนิยมที่มาครอบงำกลืนกินทรัพยากรของชาติอาศัยนโยบายสาธารณะเข้ามาโดยถูกต้องซึ่งไร้การตรวจสอบ จะเห็นได้ว่าเป็นยุคที่ได้มาซึ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งมีความสลับซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การปกครองของไทยถึงเวลาปรับเปลี่ยนอีกครั้ง สามารถสร้างผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการบริบทของสังคมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งผลผลิตทางคุณลักษณะของผู้ที่สำเร็จหลักสูตรการเป็นผู้นำองค์กรต่าง  ๆ  รวมไปถึงผู้นำระดับชาติในทางปกครองทุกระดับ โดยผ่านการปกครองในระบบเป็นหลัก 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ. (2531). หลักประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2. จรูญ สุภาพ. (2535). ระบบการเมืองเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วัฒนพานิช.

3. ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2535). รัฐ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4. ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2535). 100ปีแห่งการปฏิรูประบบราชการ: วิวัฒนาการของอำนาจรัฐและอำนาจการเมือง, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

5. ตระกูล มีชัย. (2554). การกระจายอำนาจในประเทศไทย: ความก้าวหน้าและข้อพิจารณา, เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการสถาบัน. (อัดสำเนา)

6. พิทยา บวรวัฒนา. (2543). รัฐประศาสนศาสตร์ ทฤษฎีและแนวการศึกษา (ค.ศ.1887-1970). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

7. ไพบูลย์ ช่างเรียน. (2527). สังคมการเมืองและการปกครองของไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

8. Sutee vichapron. ระบอบประชาธิปไตย, [ออนไลน์] แหล่งข้อมูล: http://krusutee. blogspot.com /2011/01/democracy.html [21 มิ.ย. 2561].