รูปแบบการปกครองกับการเมืองการปกครองของไทย

Main Article Content

ประคอง มาโต
ปิยะ ตามพระหัตถ์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปกครองกับการเมืองการปกครองของไทย พบว่า รูปแบบการปกครองสามารถถูกแบ่งเป็น 2 ประเภทซึ่งตั้งอยู่บนขั้วที่อยู่ตรงกันข้ามกันคือ ประชาธิปไตยและเผด็จการ ในแต่ละประเทศจะมีรูปแบบการปกครองอยู่ระหว่าง 2 ขั้วในจุดที่แตกต่างกันออกไป โดยมีตัวบ่งชี้คือ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจของรัฐลักษณะของประชาธิปไตยเสรีนิยมได้แก่ มีการเลือกตั้งที่โปร่งใส บริสุทธิ์และยุติธรรมรัฐบาลถูกจำกัดอำนาจโดยรัฐธรรมนูญที่ถูกร่างโดยตัวแทนของประชาชน ประชาชนรวมถึงชนกลุ่มน้อยมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการแสดงออกด้านความคิด ฯลฯ ในขณะที่การปกครองที่ค่อนไปทางเผด็จการอย่างเช่นประชาธิปไตยเทียม เผด็จการอำนาจนิยมนั้นขาดคุณสมบัติเหล่านั้นเผด็จการอำนาจนิยมถูกแบ่งออกเป็น เผด็จการอำนาจนิยมแบบทหาร สำหรับเผด็จการอำนาจนิยมแบบพรรคการเมืองผูกขาด เผด็จการอำนาจนิยมแบบระบบราชการผูกขาดอำนาจสำหรับเผด็จการอำนาจนิยมเชิงแข่งขันนั้นมีลักษณะที่คล้ายกับประชาธิปไตยเช่นมีการแข่งขันกันแต่ยังคงมีลักษณะแบบเผด็จการไว้อย่างเช่นการผูกขาดของกลุ่มทางอำนาจ


ประเทศไทยได้ปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตลอดมาตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475  การปกครองในระบอบประชาธิปไตย กฎหมายเป็นกติกาที่จะกำหนดบทบาทหรือขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ของแต่ละบุคคล ในการดำเนินการปกครอง กฎหมายที่สำคัญที่สุดก็คือกฎหมายรัฐธรรมนูญ  ซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยฉบับปัจจุบันตราขึ้นเมื่อ เมื่อ 20  มกราคม 2560  รัฐบาลรับพระราชทานรัฐธรรมนูญกลับคืนมาซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ  และกฎหมายลูก คาดว่าน่าจะใช้ได้ในเร็ว  ๆ นี้  ต้องติดตามดูว่าเหตุการณ์ภายใต้  “รัฐธรรมนูญใหม่  2560”  ซึ่งคาดการว่าน่าจะดีที่สุด  เป็นรัฐธรรมนูญที่ดี สามารถแก้ไขปัญหาทางการเมือง (ความขัดแข้ง)  ปัญหาอื่น  ๆ ทั้งประเทศสร้างความปองดอง ความสามัคคีได้เป็นอย่างดี ฤาว่าจะเกิดอะไรอย่างไร ต้องรอติดตามกับการเมืองไทย  ในระบบการปกครองที่มีในหลักใหญ่  2  ประการดังที่กล่าวมา แต่การที่จะมองการปกครองของไทยในปัจจุบันเป็นระบบอย่างไร ก็ต้องอาศัยมุมมองของผู้อ่านและวิสัยทัศน์ประสบการณ์ของแต่ละท่านตามแนวคิดทฤษฎีที่มีมา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. Marcus E. E, Howard H. (2012). Politics in a Changing World. (6th edition). San Francisco, CA: Cengage Learning;

2. Zakaria, F. (2002). Illiberal Democracy Five Years Later: Democracy’s Fate in the 21st Century. Harvard International Review. 24(2).