การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยใช้หลักธรรมทศพิธราชธรรม

Main Article Content

อัญธิษฐา อักษรศรี

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยใช้หลักธรรมทศพิธราชธรรม พบว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตย คือ ทำให้ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองได้มีโอกาสทราบความต้องการของกันและกันอย่างแท้จริงทำให้การดำเนินนโยบายของรัฐเพื่อตอบสนองประชาชนในประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม  การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะต้องเป็นการมีส่วนร่วมแบบสมัครใจ ไม่ใช่เป็นแบบปลุกระดม สำหรับการมีส่วนร่วมแบบเสรีหรือแบบสมัครใจนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อประชาชนมีความสำนึกทางการเมืองหรือความตื่นตัวทางการเมือง  ระบอบการเมืองเป็นระบอบประชาธิปไตยประชาชนก็จะมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง แต่ถ้าการปกครองแบบเผด็จการ ประชาชนก็จะมีส่วนร่วมทางการเมืองต่ำ และจะเป็นไปในรูปของการมีส่วนร่วม โดยการปลุกเร้าระดมเพื่อสนับสนุนรัฐบาลนั่นเอง  การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองถือเป็นบริบทที่สำคัญยิ่งในการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นการสะท้อนอำนาจประชาธิปไตยที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง การเมืองเป็นเรื่องของคนทุกคน และทุกคนไม่สามารถปฏิเสธผลกระทบทางการเมืองต่อการดำรงชีวิตของประชาชนได้ ดังนั้น การมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงต้องมีหลักธรรมทศพิธราชธรรมในการบริหารการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการใช้หลักธรรมเพื่อลดความขัดแย้งเพื่อเพิ่มความสงบและความสามัคคี

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านการบริการจัดหางาน. กรุงเทพฯ: กองแผนงานและสารสนเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.

2. คะนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (2545). แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 : ปัญหา อุปสรรค และทางออก. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพลส.

3. ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตรการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.พี.กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

4. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ. (2554). รายงานการศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี.กราฟฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

5. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

6. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2553). หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด .

7. วันชัย วัฒนศัพท์ และคณะ. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

8. วิกิซอร์ซ. (2562). การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน. เข้าถึงได้จาก http://www.th.wikisource.org/wiki/.