พุทธบูรณาการในการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ 2. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ และ 3. เสนอการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับปัจจัยด้านครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.61) ในขณะที่ระดับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.45)
- ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพและการจัดกิจกรรม (=3.83) รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน (=3.80) ด้านการบูรณาการงานภาครัฐ (=3.79) ด้านการป้องกันการกลับไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดซ้ำ (=3.75) ด้านการสร้างจิตสำนึกและภูมิคุ้มกัน (=3.72) และด้านมาตรการทางกฎหมายและการปราบปราม (=3.66) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบำบัดรักษา (=3.44)
- การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ การประยุกต์ใช้หลักอริยสัจ 4 ในการค้นหาสาเหตุ แนวทาง และวิธีการแก้ไขปัญหา และหลักไตรสิกขาในการนำมาพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างเป็นองค์รวม โดยพัฒนาทางด้านพฤติกรรมทั้งทางกายและวาจา (ศีล) พัฒนาจิตใจให้มีสุขภาพจิตที่ดี (สมาธิ) และพัฒนาทัศนคติ มุมมอง และความมีเหตุผล (ปัญญา) ซึ่งจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อการใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหาเสพติดเกิดความยั่งยืนยิ่งขึ้น
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. นาวี สกุลวงศ์ธนา และคณะ. (2556). แนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติดสำหรับเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน: ภูมิคุ้มกันเพื่อสร้างโลกสีขาว. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.
3. ฝ่ายทะเบียน สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์. (2556). สถิติการรับตัวเด็กและเยาวชนประจำปี 2556 ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2556. เข้าถึงได้จาก http://www.djop.go.th/location/office/4-office/28-nakornsawan.
4. วรางคณา นพฤทธิ์. (2554). ปัจจัยและแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ส่วนวิชาการด้านยาเสพติด. สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส.
5. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2558). จำนวนและร้อยละของคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจฯ ทั่วประเทศ จำแนกตามฐานความผิด ปี พ.ศ. 2555-2557. เข้าถึงได้จาก http://www.djop. moj.go.th/.
6. สริตา ธีระวัฒน์สกุล และคณะ. (2549). การใช้สารเสพติดของเยาวชนสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). บัณฑิตวิทยาลัย: ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
7. สุริยเดว ทรีปาตี และคณะ. (2552). โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาเครื่องมือสำรวจต้นทุนชีวิตเยาวชนเพื่อกำหนดแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.).