การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอแม่วงก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามทัศนคติของครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและ 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามทัศนคติของครู ตามความคิดเห็นของครูต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา 4 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้าง ด้านเทคโนโลยี ด้านบุคลากร และด้านวัฒนธรรม กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ครูในสถานศึกษาอำเภอแม่วงก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูผู้สอน จำนวน 175 คน ได้มาโดยการเปิดตารางของ Krejcie and Morgan เพื่อกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นเพื่อกำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่าง และจากนั้น ทำการจับสลากให้ได้ตามจำนวน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าจำนวน 39 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
- การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามทัศนคติของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายะด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านโครงสร้าง ด้านเทคโนโลยี ด้านวัฒนธรรม และด้านบุคลากร
- การเปรียบเทียบระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามทัศนคติของครู จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมไม่พบความแตกต่าง แต่การจำแนกตามกลุ่มโรงเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. มานิตย์ ไชยกิจ. (25451). บทบาทหน้าที่ผู้นำของผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาเพศชายและเพศหญิงตามทรรศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1. (สารนิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
3. รัศมี เจริญรัตน์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกรเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนนำร่องผู้นำการเปลี่ยนแปลง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ ค.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
4. ลัดดาวัลย์ วิเศษภูต. (2549). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์คามทัศนะของครูผู้สอนโรงเรียนสฤษดิเดช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จันทบุรี เขต 1. (ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
5. วุฒิชัย อนันต์วิจิตร. (2554). การดำเนินการบริหารการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างองค์การของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระ ศษ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเทกซ์.
7. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน . (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการ บริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาพ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
8. สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9. สุวรรณา พันขัน. (2546). ความคล้ายคลึงและความแตกต่าง ในด้านพฤติกรรมการบริหารงานระหว่างผู้บริหารโรงเรียนเพศหญิงและชาย สังกัดสำนักงานประถมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระ ศษ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
10. เสริม กัลยารัตน์. (2550). การบริหารการเปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาการเตรียมออกนอกระบบราชการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (ภาคนิพนธ์ ร.ม. สาขาวิชาการบริหารจัดการสาธารณะสำหรับนักบริหาร). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
11. อรุณวรรณ นาคทองดี. (2549). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นครูมืออาชีพในยุคปฏิรูปการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก. สารนิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ
12. Bartol, Kathryn M. (1998). Management. (3rd ed). New York: McGraw-Hill.