ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอแม่วงก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

Main Article Content

พิชญาภา สอนสร้อยทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอแม่วงก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 และ 2. เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอแม่วงก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอแม่วงก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 179 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท 5 ระดับ ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test for independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test /One-Way-ANOVA) 


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านทั้ง 11 ด้าน คือด้านการกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา ด้านการสื่อสารเป้าหมายของสถานศึกษา ด้านการนิเทศและการประเมินผล ด้านการเรียนรู้ ด้านการประสานงานด้านการใช้หลักสูตร ด้านการตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน ด้านการควบคุมการใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการดูแลเอาใจใส่ครูผู้สอนและผู้เรียน ด้านการจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับครูผู้สอน ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ ด้านการพัฒนาและการสร้างมาตรฐานด้านวิชาการ ด้านการจัดให้มีสิ่งส่งเสริมสภาพการเรียนรู้ อยู่ในระดับระดับมาก

  2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามสถานภาพส่วนบุคคลพบว่า จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมและรายด้านคือ ด้านการสื่อสารเป้าหมายของสถานศึกษา และด้านการจัดให้มีสิ่งส่งเสริมสภาพการเรียนรู้ เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่า โดยภาพรวม ด้านการควบคุมการใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาและการสร้างมาตรฐานด้านวิชาการ ด้านการสื่อสารเป้าหมายของสถานศึกษา ด้านการตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน และด้านการดูแลเอาใจใส่ครูผู้สอนและผู้เรียนแตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมด้านการจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับครูผู้สอน ด้านการจัดให้มีสิ่งส่งเสริมสภาพการเรียน และด้านการกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน ด้านการควบคุมการใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระหว่างประสบการณ์ จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ด้านการดูแลเอาใจใส่ครูผู้สอนและผู้เรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จุฑามาศ อินนามเพ็ง. (2552). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารและครูผู้สอนที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนมเขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

2. ธวัช บุญยมณี. (2550). ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

3. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

4. วีรชาติ วิลาศรี. (2550). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณพิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

5. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการ บริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาพ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

6. อุดม สิงโตทอง. (2550). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. (งานนิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.