ปัญหาขอบเขตการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า : กรณีศึกษาเครื่องหมายลวดลาย เครื่องหมายภาพเคลื่อนไหว และเครื่องหมายตำแหน่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาขอบเขตการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ว่า สามารถขยายความคุ้มครองถึงเครื่องหมายลวดลาย เครื่องหมายภาพเคลื่อนไหว และเครื่องหมายตำแหน่งหรือไม่ และศึกษาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการค้า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเครื่องหมายลวดลาย เครื่องหมายภาพเคลื่อนไหว และเครื่องหมายตำแหน่งในอนาคต
ผลการศึกษาพบว่า บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ไม่ได้ครอบคลุมถึงเครื่องหมายลวดลาย เครื่องหมายภาพเคลื่อนไหว และเครื่องหมายตำแหน่ง ทั้งการให้ความคุ้มครอง “เครื่องหมาย” ตามกฎหมายอื่นก็ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า ผู้เขียนจึงเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาขอบเขตการให้ความคุ้มครอง โดยบัญญัติเพิ่มเติมนิยามคำว่า “เครื่องหมาย” ในมาตรา 4 และบัญญัติลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้าให้เหมาะสมกับกรณีเครื่องหมายลวดลาย เครื่องหมายภาพเคลื่อนไหว และเครื่องหมายตำแหน่ง เพื่อเป็นกฎหมายที่สอดคล้องกับธุรกิจการค้าที่ก้าวหน้าตลอดเวลา สร้างความมั่นใจให้เจ้าของเครื่องหมายการค้ารวมถึงผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าได้ว่า มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้า และสามารถฟ้องผู้กระทำละเมิดเครื่องหมายการค้านั้นได้ในประเทศไทย
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. คำพิพากษาฎีกาที่ 1131. (2559). ม.ป.ท.
3. คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 258. (2529). ม.ป.ท.
4. คำสั่งของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ 156. (2554). ม.ป.ท.
5. EUTM 003125911. (2006). n.p.
6. จักรกฤษณ์ ควรพจน์ และนันทน อินทนนท์. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
7. ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2549). คำอธิบายกฎหมายลิขสิทธิ์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: นิติกรรม
8. วิชัย อริยะนันทกะ. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
9. สมพร พรหมหิตาธร. (2539). กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.