การขัดเกลาทางสังคมเชิงพุทธเพื่อแก้ปัญหาการข่มขืนบุคคลภายในครอบครัว ในสังคมไทย

Main Article Content

เดชฤทธิ์ โอฐสู

บทคัดย่อ

บทความการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุการข่มขืนที่เกิดขึ้นกับบุคคลในครอบครัวในสังคมไทย 2. เพื่อศึกษาการขัดเกลาทางพระพุทธศาสนาและทางสังคมเพื่อแก้ปัญหาการข่มขืนบุคคลในครอบครัวในสังคมไทย และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการขัดเกลาทางสังคมเชิงพุทธเพื่อแก้ปัญหาการข่มขืนบุคคลภายในครอบครัวในสังคมไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร


ผลการวิจัยพบว่า การข่มขืนบุคคลในครอบครัวในสังคมไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดย
เฉพาะผู้ก่อเหตุ เป็นคนรู้จักคุ้นเคยและคนในครอบครัวมากกว่าคนแปลกหน้า สาเหตุการข่มขืนที่เกิดขึ้นกับบุคคลในครอบครัว ในทางพระพุทธศาสนาและทางสังคมมีมูลเหตุที่เกิดคล้ายกัน คือ 1. สาเหตุทางจิตใจ 2. สาเหตุทางพฤติกรรม และ 3. สาเหตุทางสังคม  แต่ในทางพระพุทธศาสนาเน้นการอธิบายสาเหตุทางจิต ซึ่งเป็นเรื่องนามธรรม ไม่ได้เน้นการอธิบายเกี่ยวกับสรีระร่างกายในทางสังคม มีการอธิบายสอดคล้องกับทางพระพุทธศาสนา คือ 1. สาเหตุทางจิต อธิบายว่าเกิดจากปัจจัยทางจิตมีความบกพร่องผิดปกติ 2. สาเหตุทางพฤติกรรม อธิบายว่าเกิดจากปัจจัยของสรีระร่างกาย และ 3. สาเหตุทางสังคม อธิบายว่าเกิดจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและบริบททางสังคม


แนวทางการขัดเกลาทางสังคมเชิงพุทธเพื่อแก้ปัญหาการข่มขืนบุคคลในครอบครัวในสังคมไทย ต้องอาศัยกระบวนการขัดเกลาทางสังคมเข้ามาประกอบด้วย จึงจะเป็นแนวทางเชิงพุทธบูรณาการ โดยการอาศัยฐานรากความเข้มแข็งทางจิตใจอันถูกฝังลึกมาจากความละอายชั่วกลัวบาป การทำหน้าที่ตามพรหมวิหาร และทิศ 6 โดยใช้กระบวนการขัดเกลาทางสังคมมาเป็นวิธีการเชิงกระบวนการ แบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ 1) คุณธรรมกำกับใจอย่างเข้มแข็ง ซึ่งหมายถึงการที่บุคคลคำนึงถึงหลักดี-ชั่ว หน้าที่ความรับผิดชอบ 2) กระบวนการขัดเกลาเชิงสังคม ซึ่งหมายถึง การอาศัยกลไกอื่น ๆ นำไปสู่การปฏิบัติจริง เช่น กฎหมาย สถาบันครอบครัว บรรทัดฐานทางสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กุลภา วจนสาระ. (2554). เรื่องเพศจากข่าว 3 ปี : ข่มขืน ท้องไม่พร้อม แม่วัยรุ่น และเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

2. จักษ์ พันธ์ชูเพชร. (2548). การข่มขืนกระทำชำเราจากบุคคลภายในครอบครัว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: บริษัท มายด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

3. จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2550). ปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศของผู้หญิงไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

4. ดวงกมล จักกระโทก. (2562). สาเหตุการข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 13 ปี. ในเอกสารประกอบการสัมมนาเครือข่ายนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงแรมเอส ดี อเวนิว ปิ่นเกล้า.

5. ถิรดล วัฒนศักดิ์. เหตุเพิ่มโทษในความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285. เข้าถึงได้จาก http://www.dpu.ac.th/graduate/upload/content /files...pdf.

6. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27). (2562, 24 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๙ ก, หน้า 127-134.