พุทธจิตวิทยาเพื่อการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย

Main Article Content

จิดาภา วิเชียรบุญญานนท์
เสมียน สีลาวัตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัญหาทางสุขภาพจิตของประชาชนพื้นที่กลางน้ำที่ประสบอุทกภัย 2. วิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนพื้นที่กลางน้ำที่ประสบอุทกภัย และ 3. สังเคราะห์รูปแบบการประยุกต์ใช้หลักพุทธจิตวิทยาเพื่อการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการศึกษาเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจจาก 294 ตัวอย่าง และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่เกี่ยวข้อง 21 รูปหรือคน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัญหาทางสุขภาพจิตของประชาชนพื้นที่กลางน้ำที่ประสบอุทกภัย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.85) เมื่อพิจารณาเป็นด้านพบว่า มาจากสาเหตุทางจิตใจมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 3.88) รองลงมา คือ มาจากสาเหตุด้านสังคม (gif.latex?\bar{X} =3.85) และมาจากสาเหตุทางร่างกาย (gif.latex?\bar{X}=3.81)

  2. ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตผู้ประสบอุทกภัยนั้น ด้วยความที่ชุมชนเป็นสังคมเอื้ออาทร มีถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น มีการสนับสนุนช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนเหมือนกับญาติพี่น้องที่หวังดีต่อกันด้วยความจริงใจ โดยการลงไปพบปะ เยี่ยมเยียน และให้กำลังใจแก่กันและกัน ซึ่งจะมีส่วนทำให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากปัญหาอุทกภัยคืนกลับสู่สภาวะที่ปกติ

  3. รูปแบบการประยุกต์ใช้หลักพุทธจิตวิทยาเพื่อการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย จะเริ่มที่ตนเองโดยใช้สติเป็นตัวกำหนดรู้และและใช้หลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ขณะเดียวกันก็จะต้องมีผู้มีความเป็นกัลยาณมิตรมาสนับสนุนช่วยเหลือ ทั้งที่เป็นบุคคลในครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อให้ลดอาการเหงา การคิดมาก และอาการซึมเศร้า เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมอุตุนิยมวิทยา. สาเหตุการเกิดอุทกภัย. เข้าถึงได้จาก http://www.tmd.go.th/service /service php.

2. จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์และนิดารัตน์ ชูวิเชียร. (2558). ผลกระทบทางสุขภาพ การรับรู้ การปรับตัวและการสนับสนุนทางสังคมของผู้ประสบภัยน้ำป่าและดินโคลนถล่ม อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. (รายงานวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

3. ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล. (2552). จิตวิทยาแนวพุทธ: แนวทางเพื่อการเยียวยาและพัฒนาจิตใจมนุษย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4).

4. ธงชัย เติมประสิทธิ์. (2559). ผลกระทบอุทกภัย และแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 27(2).

5. พิทักษ์พล บุณยมาลิก. (2555). ปัญหาสุขภาพจิตของผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดอุตรดิตถ์ปี 2549: การติดตามดูแลระยะยาว 1 ปี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 57(2).

6. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

7. ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่มจังหวัดนครสวรรค์. (2554). สรุปสถานการณ์อุทกภัยจังหวัดนครสวรรค์ ปีพ.ศ. 2554. นครสวรรค์: สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครสวรรค์.

8. สมพร รุ่งเรืองกลกิจ และคณะ. (2557). ประสิทธิผลของการให้การปรึกษาแนวพุทธธรรมต่อการลดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(4).

9. สิริวัฒน์ ศรีเครือดง และคณะ. (2559). พุทธจิตวิทยาบูรณาการ: แนวคิดและการสร้างตัวแบบเพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3).

10. โสรีช์ โพธิแก้ว. (2553). การประยุกต์อริยสัจ 4 ของพระพุทธศาสนา กับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตรักษา. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

11. หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์. (2554). มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากมหาอุทกภัย 2554. วารสารหอการค้า, ปีที่ 14(3).