ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามหลักอิทธิบาท ๔ ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่พิจิตร สาขาบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท 4 กับประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามหลักอิทธิบาท 4 ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่พิจิตร สาขาบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร และ 2. นำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามหลักอิทธิบาท 4 ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่พิจิตร สาขาบางมูลนาก จังหวัดพิจิตรโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง 186 คน จากประชากรทั้งหมด 346 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท 4 กับประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามหลักอิทธิบาท 4 ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่พิจิตร สาขาบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าความสัมพันธ์กันในทางบวกหรือมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่คล้อยตามกันเป็นคู่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (Pearson Correlation(r) = 0.82) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า คู่ของด้านจิตสำนึกความรับผิดชอบกับด้านหลักวิริยะ ค่าความสัมพันธ์สูงที่สุด (r = 0.85) รองลงมา คือ คู่ของด้านความมีมาตรฐานกับด้านหลักวิมังสา (r = 0.80)
- การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามหลักอิทธิบาท 4 ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่พิจิตร สาขาบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร พบว่า ด้านความมีมาตรฐาน มีมาตรฐานการบริการที่ดีทีการให้บริการที่เป็นระบบ และมีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สามารถให้บริการประชาชนไว้อย่างชัดเจน และมีการพัฒนาระบบการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ด้านความโปร่งใส มีช่องให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น มีการทำงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลเข้ามาบริหารงาน ด้านจิตสำนึกความรับผิดชอบ มีการสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้ตระหนักถึงบทบาท หน้าที่ของตนเอง เพื่อให้การบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านความรวดเร็วและเรียบง่าย มีการจัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ความสามารถ ไว้คอยให้บริการขอรับบริการ และอำนวยความสะดวกให้ผู้ขอรับบริการอย่างพียงพอและมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าใช้ในการให้บริการประชาชนทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกและรวดเร็ว ด้านความพึงพอใจ มีการบริการที่ดีทั้งในส่วนของการให้บริการของเจ้าหน้าที่ และด้านวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งมีการจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้คอยให้บริการผู้ขอรับบริการอย่างเพียงพอ
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2552). แนวคิดยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
3. ยุพดี โสตโยม. (2559). ประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
4. สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่จังหวัดพิจิตร สาขาบางมูลนาก. รายงานผลการดำเนินการ ประจำปี 2558. (อัดสำเนา).
5. สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่จังหวัดพิจิตร สาขาบางมูลนาก. รายงานผลการดำเนินการ ประจำปี 2559. (อัดสำเนา).
6. สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่จังหวัดพิจิตร สาขาบางมูลนาก. รายงานผลการดำเนินการ ประจำปี 2560. (อัดสำเนา).
7. สุนันทา ทองหนัน. (2557). การศึกษาประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 3. (สารนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต