ความเครียดในการเรียนของนักเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความเครียดในการเรียนของนักเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และ 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความเครียดในการเรียนของนักเรียนนายร้อยตำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จำนวน 300 คน จากประชากรทั้งหมด 1,119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านครอบครัว ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณี 2 ตัวอย่าง (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์
ผลการศึกษาพบว่า
1. ส่วนใหญ่เพื่อศึกษาความเครียดในการเรียนของนักเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อยู่ในระดับน้อย ( = 2.52, S.D. = 0.88) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ด้านที่ 1 ด้านร่างกาย ( = 2.96, S.D. = 1.05) อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ด้านที่ 2 ด้านจิตใจ ( = 2.75, S.D. = 1.03) อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ด้านที่ 4 ด้านสิ่งแวดล้อม ( = 2.71, S.D. = 1.15) อยู่ในระดับปานกลาง
2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความเครียดในการเรียนของนักเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เมื่อจำแนกตาม ภูมิลำเนา พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตาม อายุ และระดับชั้นปีที่ศึกษา พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. นภัสกร ขันธควร. (2558). ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. นวลจันทร์ ภูวสิทธินันท์. (2551). ปัจจัยในการปฏิบัติงานที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
4. ปภัชญา คุณะเพิ่มศิริ. (2559). การศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล สาเหตุของความเครียด การจัดการความเครียด และผลกระทบของความเครียดที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผลของพนักงานปฏิบัติการในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
5. มนทิรา ปรีชา. (2552). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของตำรวจตระเวนชายแดน กองร้อย 446 จังหวัดนราธิวาส. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. สมิธ วุฒิสวัสดิ์. (2551). การศึกษาสัมพันธภาพในครอบครัวของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
7. สุกฤตา ศรีทองสุข. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของพนักงานกลุ่มบริษัทสามารถโซลูชั่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
8. สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
9. หงส์ศิริ ภิยโยดิลกชัย, อรุณวรรณ กัมภูสิริพงษ์, มยุรี สวัสดิ์เมือง, ทัศนี จันทรภาส. (2558). ความเครียดและการแก้ปัญหาความเครียดของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ.