การควบคุมตนเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 2

Main Article Content

เบญญาภา ปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการควบคุมตนเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล และ 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการควบคุมตนเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 จำนวน 210 นาย จากประชากรทั้งหมด 460 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการควบคุมความคิดของตนเองได้ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ด้านการควบคุมตนเองได้ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ด้านการยับยั้งชั่งใจได้ไม่กระทำอะไรตามอำเภอใจในขณะปฏิบัติหน้าที่ ด้านการกำกับตนเองได้ให้ความประพฤติเป็นระเบียบวินัย ด้านความสามารถยุตินิสัยที่ไม่ดีของตนเองได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณีตัวอย่าง 3 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์  


           ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษาระดับการควบคุมตนเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล2 พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (CodeCogsEqn.gif= 4.35, S.D = 0.46) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ด้านการควบคุมความคิด อยู่ในระดับมาก (CodeCogsEqn.gif= 4.39, S.D = 0.59) ด้านการควบคุมตนเอง อยู่ในระดับมาก (CodeCogsEqn.gif= 4.39, S.D = 0.56) และ ด้านการยับยั้งชั่งใจ อยู่ในระดับมาก (CodeCogsEqn.gif= 4.38, S.D = 0.52)  

  2.  ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการควบคุมตนเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล2 จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ ระยะเวลาที่รับราชการ พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตาม รายได้ พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรายุ เลิศเจริญวนิช. (2557). อิทธิพลของการควบคุมตนเองและการวางกรอบการตัดสินใจต่อเจตนาและพฤติกรรมเพื่อส่วนร่วมในภาวะยุ่งยากสองด้านทางสังคม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). คณะจิตวิทยา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์ชนก นามบัณฑิต. (2559). อิทธิพลของการทำหน้าที่ทางครอบครัว และการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมตามแผนในการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน). คณะสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฤติมา รักษารักษ์, งามลมัย ผิวเหลือง. (2558). อิทธิพลของการสนับสนุนทางสังคม การเห็นคุณค่าในตนเอง และการควบคุมตนเองที่มีต่อความหยุ่นตัวของนิสิตรอพินิจ. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2).

วลัยกร สังฆบุตร. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนชีวิต การควบคุม และลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุภาพงษ์ ตันสุภาพ. (2559). ผลกระทบของการควบคุมตนเองที่มีต่อการออม: กรณีศึกษาบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต).คณะเศรษฐศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.