การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนมะพร้าวคู่ แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนมะพร้าวคู่ แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร และ 2. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนมะพร้าวคู่ แขวางบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในการวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ ด้านการป้องกันตนเองให้พ้นจากอาชญากรรม ด้านการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมในชุมชน การร่วมในที่ประชุมเพื่อศึกษาหารือ การร่วมตัดสินใจในแนวทางเหมาะสม การเข้าร่วมในการปฏิบัติงานตามโครงการ การเข้าร่วมในการตรวจตราดูแลและประเมินผลที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยได้วิจัยโดยใช้แบบสอบถามกับประชาชนในชุมชนมะพร้าวคู่ แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร จำนวน 624 ชุด โดยหาค่าความถี่ และร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์โดยการทดสอบค่าทีและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า
- ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.14, S.D. = 0.75) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ด้านการป้องกันตนเองให้พ้นจากอาชญากรรม อยู่ในระดับมาก (= 4.40, S.D. = 0.68) ด้านการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมในชุมชน อยู่ในระดับมาก (= 3.71, S.D. = 0.93) และด้านการเข้าร่วมในการปฏิบัติงานตามโครงการ อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.04, S.D. = 0.83) 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมในชุมชนมะพร้าวคู่ แขวางบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
- เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างตัวแปรจำนวน 6 ตัวแปร พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมีค่าแตกต่างจากศูนย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) มีจำนวน 15 คู่ มีค่าพิสัยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในช่วง .219 – 1.00 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของตัวแปรการมีส่วนร่วมกับการป้องกันอาญากรรม พบว่า ทุกตัวมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสถิติ (p<.01) และเป็นความสัมพันธ์ทางบวก แสดงว่า ความสัมพันธ์ของตัวแปรทุกตัวเป็นในทิศทางเดียวกัน โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุดคือการตัดสินใจและตรวจตรา (r = .877) แสดงว่าเมื่อประชาชนในชุมชนมะพร้าวคู่มีการตัดสินใจเพิ่มขึ้นก็จะมีการตรวจราเพิ่มขึ้นด้วยและตัวแปรที่มีความสัมพันธ์รองลงมาคือ การประชุมและตัดสินใจโดยมีขนาดความสัมพันธ์ค่อนข้างสูง (r = .837) แสดงว่าเมื่อประชาชนในชุมชนมะพร้าวคู่มีการประชุมเพิ่มขึ้นและการตัดสินใจเพิ่มขึ้นด้วย
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
นฎกร คำประสิทธ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาญากรรม : กรณีศึกษาตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. (รายงานค้นคว้าอิสระ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ปราโมทย์ จันทร. (2558). แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลบางโพงพาง. (รายงานการค้นคว้าอิสระ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สามารถ มังสัง. (2561). อาชญากรรมเพิ่มขึ้น : สะท้อนสังคมและเศรษฐกิจแย่ลง. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/daily/detail/9610000055174.
สุนันท์ นามตะ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมของสถานีตำรวจภูธรบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหากุฎราชวิทยาลัย.