การป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

กุสุมา นาทันคิด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ 2. ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จากประชากรทั้งหมด 5,771 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณีตัวอย่าง 2 วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ระดับการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (CodeCogsEqn21.gif= 3.34, SD = 0.36)

  2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่า เมื่อจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล ตามเพศ อายุ ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ภูมิลำเนา สถานที่พักอาศัยต่างกัน พบว่า นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกันมีการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมไม่แตกต่างกัน และนักศึกษาที่มีอายุ ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ภูมิลำเนา สถานที่พักอาศัยแตกต่างกัน มีการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบังคับการปราบปราม. (2550). ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตำรวจ.

ทวีศักดิ์ สมบุญ. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรท่าแซะ จังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ประเทือง ธนิตผล. (2556). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ระบบสารสนเทศสถานีตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2562). สถิติอาชญากรรมฯ. เข้าถึงได้จาก http://social.nesdb.go.th

วิชุตา พวงมาลัย. (2556). ปัญหาอาชญากรรมในสังคมไทย. เข้าถึงได้จาก http://sd-group1. blogspot.com/2013/01/53242568.html

สุนิสา อินอุทัย. (2557). การป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบล แสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cohen, L. E, & Felson, M. (1979). Social Change and Crime Rate Trends: A Routine Activit Approach. American Sociological Review.

Durkheim E. (1974). Sociology and Philosophy. New York: Rout ledge.

Hentig, H. V. (1948). The Criminal and His Victim. New Haven: Yale University Press.

Yamane, T. (1973). Statistics an Introduction Analysis. New York: Harper & Row.