การป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณีตัวอย่าง 2 การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์
ผลการวิจัย พบว่า
- การป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (= 4.24, SD = 0.39)
- ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่า นักศึกษาที่มี เพศ และลักษณะที่พักอาศัยแตกต่างกัน มีการป้องกันตนเองจากยาเสพติดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษาที่มีอายุ ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ภูมิลำเนา แตกต่างกันมีการป้องกันตนเองจากยาเสพติดไม่แตกต่างกัน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
เจริญ แฉกพิมายและปนัดดา ศรีธรสาร. (2555). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ประจวบ แหลมหลักและคณะ. (2557). ปัญหายาเสพติดในสังคมไทยมุมมองทางสังคมวิทยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี พะเยา, 15(3).
วราภรณ์ มั่งคั่งและคณะ. (2560). ปัจจัยครอบครัวที่มีผลต่อการใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นชายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2).
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2538). งานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้โทษในสถานศึกษา: คู่มือสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ. กรุงเทพฯ: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2562). รายงานผลดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ (2561). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
อธิพงษ์ ตันศิริ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดศึกษากรณีอำเภอแกลง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Huang Lanjun. (2555). การป้องกันตนเองเกี่ยวกับปัญหาด้านยาเสพติดของนิสิตจีนกรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม). คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Sutherland, Edwin H. (1924). Principles of Criminology. Chicago: University of Chicago Press.
Yamane, T. (1973). Statistics an Introduction Analysis. New York: Harper & Row.