ภาวะความเครียดของพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความเครียดในการทางานของพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 และ 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับภาวะความเครียดของพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย 5 ด้าน ด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิตใจ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการทำงาน ผู้วิจัยได้วิจัยโดยใช้แบบสอบถามกับพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 จำนวน 132 คน จากประชากรจำนวน 201 คน โดยหาค่าความถี่และร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณี 2 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์
ผลการวิจัย พบว่า
- ระดับความเครียดในการทำงานของพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล1 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.43 , S.D. = 0.36) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการทำงานอยู่ในระดับมาก (= 3.93 , S.D. = 0.52) รองลงมาคือด้านเศรษฐกิจ (= 3.77 , S.D.= 0.55) และด้านสุขภาพร่างกาย (=3.42 , S.D. = 0.47)
- ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับภาวะความเครียดของพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล1 ผลการศึกษา เมื่อจำแนกปัจจัยส่วนบุคคลตาม เพศ ระยะเวลาในการทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ความแปรปรวนของกลุ่มอย่างไม่แตกต่างกัน และเมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลตาม อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง พบว่าความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่าง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กานดา วิธานธีรกุล. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คมชัดลึก. (2561). เปิดสถิติตำรวจฆ่าตัวตายเกือบ 40 คน/ปี. เข้าถึงได้จาก http:// www.komchadluek.net/news/crime/308210.
ชุติมา พระโพธิ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด การจัดการความเครียดและคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในจังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ไทยรัฐออนไลน์. (2557). เปิดสถิติ ตร.ฆ่าตัว เหตุเครียดงาน จิตแพทย์แนะวิธีแก้. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/content/402917
ปวิตรา ลาภละมูล. (2557). ความเครียดภายในองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ไอ.เทค.คอมมูนิเคชั่น จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิมพ์ ศรีทองคำ. (2557). ความเครียดในการปฏิบัติงาน ภาวะผู้นำ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการในบริษัทเอกชนที่นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่นแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภาพรรณ พุทธิยาวัฒน์. (2558). ความเครียดของเจ้าหน้าที่รับเรื่องทางโทรศัพท์ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (1300). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาลัยธรรมศาสตร์
สาคร ดางาม. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรคลองหาด อ.คลองหาด จ.สระแก้ว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาลัยบูรพา.
อนันท์ พะละหงส์และทีปพิพิฒน์ สันตะวัน. (2558). ความเครียดในการทำงานของพนักงานเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎพระภาคเหนือ, 5(9).
อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2559). ภาวะความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของข้าราชการตำรวจตำรวจภูธร สังกัดตำรวจภูธร ภาค 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
อิทธิพล กริสว่าง. (2553). ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W., (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(2).