การควบคุมตนเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการควบคุมตนเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล2 และ 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการควบคุมตนเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล2 ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านควบคุมความคิดของตนเองได้ขณะปฏิบัติหน้าที่ ด้านควบคุมอารมณ์ตนเองได้ขณะปฏิบัติหน้าที่ ด้านยับยั้งชั่งใจได้ ไม่กระทำอะไรตามอำเภอใจในขณะปฏิบัติหน้าที่ ด้านกำกับตนเองได้ ให้มีความประพฤติเป็นระเบียบวินัย ด้านสามารถยุตินิสัยที่ไม่ดีของตนเองได้ ผู้วิจัยได้วิจัยโดยใช้แบบสอบถามกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล2 จำนวน 196 คน โดยหาค่าความถี่และร้อยละ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า
- ระดับการควบคุมตนเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล2 อยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ยโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (= 4.14, S.D. = 0.47) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านสามารถยุตินิสัยที่ไม่ดีของตนเองได้ และด้านกำกับตนเองได้ ให้มีความประพฤติเป็นระเบียบวินัย และด้านยับยั้งชั่งใจได้ ไม่กระทำอะไรตามอำเภอใจในขณะปฏิบัติหน้าที่ (= 4.41, S.D. = 0.61; = 4.32, S.D. = 0.57; = 4.11, S.D. = 0.57)
- ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการควบคุมตนเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลกับการควบคุมตนเองของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในทุกปัจจัย ไม่แตกต่างกัน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ชุติมา พระโพธิ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด การจัดการความเครียด และคุณภาพชีวิตของข้าราชการครูในจังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป). คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปฏิภาค บุญมั่งมี. (2553). ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ศูนย์จราจรตำรวจภูธร จังหวัดเชียงใหม่.(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
ยงยุทธ ฉายแสง. (2553). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในสถานีตำรวจภูธร จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 2(1).
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2541). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Garland and Bush. (1998). Coping Behaviors and Nursing. Virginia; USA Reston Publishing
Mahoney, M. J. (1974). Cognition and Behavior modification. Cambridge, Mass: Ballinger.
Larson, J. D. (1992). Anger and aggression management techniques the think first curriculum. Journal of Offender Rehabilitation, 18(1).