รัฐศาสตร์แนวพุทธว่าด้วยการปกครองตามหลักทศพิธราชธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารัฐศาสตร์แนวพุทธว่าด้วยการปกครองตามหลักทศพิธราชธรรม พบว่า สังคมไทยได้รับอิทธิพลคำสอนของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการบริหารและการปกครอง โดยเฉพาะที่นำมาจากคัมภีร์ชาดก เช่น ทศพิธราชธรรม ซึ่งเป็นธรรมของพระราชา ผู้นำ ผู้ปกครองโดยตรง เมื่อมองในแง่รัฐศาสตร์ ก็คือหลักแห่งการบริหารและการปกครองกายและใจ ซึ่งเมื่อนำปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ชีวิตดำเนินไปในแนวทางที่ถูกต้องและก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม ทศพิธราชธรรมเป็นหลักธรรมกล่อมเกลาอารมณ์ หรือเป็นธรรมที่หล่อเลี้ยงอารมณ์ของคนที่เป็นผู้นำ เพื่อให้ผู้นำมีความสามารถในการกำกับและควบคุมอารมณ์ของผู้นำ อีกทั้งสามารถบริหารจัดการอารมณ์ และความรู้สึกของตัวเองให้มีสมรรถภาพจิตดี มีสุขภาพจิตดี และคุณภาพจิตดี จะเห็นว่าทศพิธราชธรรมเป็นหลักปฏิบัติสำหรับกล่อมเกลาจิตใจเพื่อให้สามารถปรับใจให้สอดรับกับวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบจิตใจ ทดสอบจิตใจและสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องไม่มีอคติและมุ่งประโยชน์ส่วนรวมที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมเป็นสำคัญ
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กฤษดา เชียรวัฒนสุขและทัดทรวง บุญญาธิการ. (2560). ภาวะผู้นำตามหลักทศพิธราชธรรมที่มีผลต่อการจัดการความรู้อย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 13-28.
เนตรดาว จิระกิจ. (2550). การเปรียบเทียบการบริหารจัดการตามแนวทางทศพิธราชธรรมระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากดกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระสอบ ในจังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประเทศไทยใสสะอาด. การเรียนรู้ทศพิธราชธรรมสู่การปฏิบัติ. เข้าถึงได้จาก http://www. fact.or.th/king/
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2550). ธ ทรงครองแผ่นดิน ทศพิธราชธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพิจิตรธรรมพาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน). (2552). ธรรมวาทะ-ข้อคิด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียงการพิมพ์.
พระหรรษา ธมฺมหาโส. (2556). ทศพิธราชธรรม : 10 ตัวชี้วัดสำหรับผู้นำองค์กร. กรุงเทพฯ: ศรีเสน่ห์การพิมพ์.
รัชนีกร เศรษโฐ. (2532). โครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด.
อรณี ฝูงวรรณลักษณ์. (2538). การเปิดรับ การคาดหวังประโยชน์และความพึงพอใจ ในรายการธรรมะทางสื่อโทรทัศน์ของสมาชิกชมรมทางพระพุทธศาสนา ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.