ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมของนักศึกษาในการป้องกันยาเสพติดในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรณีศึกษา: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ของนักศึกษาในการป้องกันยาเสพติดในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2) ศึกษาระดับพฤติกรรมของนักศึกษาในการป้องกันยาเสพติดในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมของนักศึกษาในการป้องกันยาเสพติดในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 345 คน จากประชากรทั้งหมด 2,807 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสร้างภูมิคุ้มกัน ด้านการค้นหา ด้านการรักษา ด้านการเฝ้าระวัง และด้านการบริการจัดการ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียรสัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการรับรู้การป้องกันยาเสพติดของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อยู่ในระดับมาก 2) ระดับพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อยู่ในระดับมาก และ 3) ระดับความสัมพันธ์การรับรู้กับพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นไปในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเป็นความสัมพันธ์ในระดับน้อย (r =0.113*) ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ดังนั้นด้านการรับรู้การป้องกันยาเสพติดของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดของนักศึกษาในระดับน้อย
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กฤษฎา นาคประสิทธิ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในเขตเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.
เจริญ แฉกพิมายและปนัดดา ศรีธนสาร. (2555). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: งานวินัยและพัฒนานักศึกษากองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ณัฐชนันท์ กิ่งมณี. (2554). การศึกษาการรับรู้โฆษณาตรงและโฆษณาแฝงสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางโทรศัพท์ในกลุ่มนักศึกษาระดับอดุมศึกษา. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ตันหยง ชุนศิริทรัพย์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน บริษัทนิตพอยน์ จำกัด. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วราภรณ์ มั่งคั่ง. (2558). ปัจจัยครอบครัวที่มีผลต่อการใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นชายในศูนย์ฝึกและอบรม เด็กและเยาวชนบ้านบึง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว). คณะพยาบาลศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
อิงอร ยิ้มมุก. (2559). ความคาดหวังและการรับรู้ประสบการณ์จริงของนักท่องเที่ยวในด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมู่บ้านคีรีวง นครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา). คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Chen, Z. (2560). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีต่อการท่องเที่ยว ในอำเภอเมือง จังหวัดชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.