ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของเทศบาลนครปากเกร็ด ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของเทศบาลนครปากเกร็ด และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของเทศบาลนครปากเกร็ด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครปากเกร็ด จำนวน 395 คน จากประชากรทั้งหมด 37,790 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณูปโภค การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณี 2 ตัวอย่าง (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์
ผลการศึกษาพบว่า
1. ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของเทศบาลนครปากเกร็ด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.08) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากสุด คือ ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.22) รองลงมา คือ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับทัศนคติมาก (= 4.12) และน้อยที่สุด คือ ด้านสาธารณูปโภค อยู่ในระดับทัศนคติมาก (= 3.89) ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของเทศบาลนครปากเกร็ด จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. เทศบาลนครปากเกร็ด. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี 2561-2562. เข้าถึงได้จาก http:// www.pakkretcity.go.th.
3. รัตนาภรณ์ มั่นศรีจันทร์. (2559). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี: ศึกษากรณีในห้วงเวลาปี 2559. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.
4. วิรัช ถิรพันธุ์เมธี. (2562). เทศบาล. เข้าถึงได้จาก http://www.royin.go.th
5. ศตพล พนิชศักดิ์พัฒนา. (2559). ทัศนคติของประชาชนชาวจังหวัดสกลนครที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร: ศึกษาในห้วงเวลา ปี พ.ศ. 2559. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.