บทบาทสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560 พบว่า รัฐธรรมนูญกำหนดให้วุฒิสภาและสมาชิกวุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญวุฒิสภาในฐานะองค์กรผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติและในฐานะสภาที่สองมีหน้าที่ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ พิจารณากลั่นกรองร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปอย่างรอบคอบและถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมฯ ซึ่งเมื่อร่างพระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว กฎหมายเหล่านั้นจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญให้ฝ่ายบริหารและองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐที่เกี่ยวข้องได้ใช้บริหารและปกครองประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลตามหลักนิติธรรม วุฒิสภาเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐทางนิติบัญญัติจึงจำเป็นต้องมีที่มาจากความชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตย แต่เดิมมาในรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับบัญญัติถึงที่มาของสมาชิกวุฒิสภาไว้คล้าย ๆ กันว่ามาจากการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความชำนาญในวิชาการหรือกิจการต่าง ๆ อันจะยังประโยชน์ให้แก่การปกครองบ้านเมืองปกติแล้ววุฒิสภามีอำนาจเพียงคอยกลั่นกรองกฎหมายให้เกิดความรอบคอบ รัดกุม ให้กฎหมายมีผลบังคับใช้เพื่อความผาสุกของประชาชนและความมั่นคงของบ้านเมือง รัฐธรรมนูญกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และสมาชิกวุฒิสภามีเอกสิทธิ์ ความคุ้มกัน รวมทั้งหลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ด้านต่าง ๆ
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
แดนชัย ไชวิเศษ. (2560). สมาชิกวุฒิสภา 250 คนมาอย่างไรและทำอะไร. เข้าถึงได้จาก http:// www.library2.parliament.go.th›ebook›content-issue
ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานวุฒิสภา. (2562, 31 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 140 ง, หน้า 2.
ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา. (2562, 16 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 121 ง, หน้า 1-9.
พระมหาสมควร ศรีสงคราม. (2550). การศึกษาความสัมพันธระหวางสัปปุริสธรรมและพละธรรม กับการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (6 เมษายน 2560), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนที่ 40ก.