การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสุนัขจรจัดของชุมชนวัดเพลง เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธนพงศ์ ทาศรีนุช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสุนัขจรจัดของชุมชนวัดเพลง และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสุนัขจรจัดของชุมชนวัดเพลง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนวัดเพลงจำนวน 210 คน โดยมาจากจำนวนประชากรที่มีอยู่ในชุมชนวัดเพลง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณี 2 ตัวอย่าง (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสุนัขจรจัดของชุมชนวัดเพลง เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.00, S.D. = 0.77) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  (gif.latex?\bar{X} = 4.20, S.D. = 1.18) อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.20, S.D. = 0.94) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.18, S.D. = 1.23) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.40, S.D. = 0.45) และ 2) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสุนัขจรจัดของชุมชนวัดเพลง เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน พบว่า โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
ทาศรีนุช ธ. (2020). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสุนัขจรจัดของชุมชนวัดเพลง เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจยวิชาการ, 4(1), 157–168. https://doi.org/10.14456/jra.2021.16
บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2555). สถิติรายงานจำนวนประชากรและบ้านจังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.

คมลักษณ์ สงทิพย์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษา ตลาดน้ำวัดตะเคียน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว). คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นงเยาว์ ทองสุข. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(3), 9-15.

ปภาวรินท์ นาจำปา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบล คลองใหญ่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัฐพล ศรีธรรมา และเกวลิน ศีลพิพัฒน์. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนและประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. (รายงานวิจัย). วิทยาเขตบางเขน: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2560). การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม: เทคนิควิธีและการนำไปสู่การปฏิบัติ. เข้าถึงได้จาก https://www.opdc.go.th/ content /Mjc4Nw

โสภิดา ศรีนุ่น. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). คณะรัฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.