การรักษาโรคซางโดยภูมิปัญญาพื้นบ้าน กรณีศึกษาชุมชนบ้านป่าไหม้ หมู่ที่ 1 ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการรักษาโรคซางโดยภูมิปัญญาพื้นบ้านและแนวทางส่งเสริมในการรักษาโรคซางโดยภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีผู้ให้ข้อมูล คือ หมอพื้นบ้าน จำนวน 3 คน ผู้ป่วยที่รักษาแล้วหายจากโรคซาง จำนวน 2 คน ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาโรคซาง จำนวน 1 คน และผู้นำชุมชนที่มีบทบาทในการผลักดันให้เกิดการสืบทอดการรักษาโรคซางสืบต่อกันมา จำนวน 2 คน เลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) วิธีการรักษาโรคซางโดยภูมิปัญญาพื้นบ้านมีการไหว้ครูเพื่อเคารพครูบาอาจารย์โดยใช้ดอกไม้ ธูปเทียน และหมากพลู จากนั้นจึงทำการประเมินอาการโดยการพูดคุยกับผู้ป่วยและเตรียมอุปกรณ์ในการรักษาจากการสังเกตบริเวณลำคอเกิดแผลหรือรอยแดง และหากมีไข้ควรเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ใช้ยาชนิดต้ม ตากและเผา โดยมีตัวยาสมุนไพรหลากหลายชนิด และต้องคำนึงถึง คือ ข้อห้ามในการรักษา เช่น งดใช้ยาตัวอื่นก่อน 1 ชั่วโมง และไม่ควรดื่มน้ำอัดลมเพราะจะทำให้มีอาการอาเจียน และ 2) แนวทางส่งเสริมในการรักษาโรคซางโดยภูมิปัญญาพื้นบ้าน ควรส่งเสริมการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาโรคซาง เช่น สาธิต และสอนวิธีใช้สมุนไพรการส่งเสริมกระบวนการและขั้นตอนในการรักษา เช่น การสอบถามอาการเบื้องต้น ชนิดตัวยาหรือสมุนไพรที่รักษารวมถึงการดูแลผู้ป่วยหลังการรักษาและการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งสร้างการยอมรับและความน่าเชื่อถือในการรักษาควบคู่การออกกำลังกายและการส่งเสริมให้มีผู้สืบทอดวิธีการรักษาให้มีความรู้และความชำนาญ เช่น หลักการรักษาและสรรพคุณของยาสมุนไพร
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรุณา จันทุม และกัลยารัตน์ กำลังเหลือ. (2559). การรักษาโรคด้วยสมุนไพรและตำรับยาโบราณของหมอพื้นบ้าน. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 24(2), 48-57.
ธวัชชัย กมลธรรม.(2562). ไทยประสบปัญหาขาดแคลนสมุนไพร. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/ content/2015/06/10169.
ผู้นำชุมชนคนที่ 1, (2563, 2 กุมภาพันธ์). การรักษาโรคซางโดยภูมิปัญญาพื้นบ้าน. (นางสาวพรชิตา จิตมัง, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้นำชุมชนคนที่ 2, (2563, 2 กุมภาพันธ์). การรักษาโรคซางโดยภูมิปัญญาพื้นบ้าน. (นางสาวพรชิตา จิตมัง, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ป่วยที่รักษาแล้วหายจากโรคซางคนที่ 1. (2563, 2 กุมภาพันธ์). การรักษาโรคซางโดยภูมิปัญญา พื้นบ้าน. (นางสาวพรชิตา จิตมัง, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ป่วยที่รักษาแล้วหายจากโรคซางคนที่ 2, (2563, 2 กุมภาพันธ์). การรักษาโรคซางโดยภูมิปัญญา พื้นบ้าน. (นางสาวพรชิตา จิตมัง, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาโรคซาง, (2563, 2 กุมภาพันธ์). การรักษาโรคซางโดยภูมิปัญญาพื้นบ้าน. (นางสาวพรชิตา จิตมัง, ผู้สัมภาษณ์)
สุพน ทิ่มอ่ำ. (2551). การปลูกพืชสมุนไพรสร้างอาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อักษรเจริญทัศน์ จำกัด.
สุภัทรชัย สีสะใบ, ประเสริฐ ธิลาว, พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณและพระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร. (2562). ถอดบทเรียนจากพื้นที่: การดูแลผู้สูงอายุตามแนวพุทธในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 149-170.
หมอพื้นบ้านคนที่ 1. (2563, 2 กุมภาพันธ์). การรักษาโรคซางโดยภูมิปัญญาพื้นบ้าน. (นางสาวพรชิตา จิตมัง, ผู้สัมภาษณ์)
หมอพื้นบ้านคนที่ 2, (2563, 2 กุมภาพันธ์). การรักษาโรคซางโดยภูมิปัญญาพื้นบ้าน. (นางสาวพรชิตา จิตมัง, ผู้สัมภาษณ์)
หมอพื้นบ้านคนที่ 3, (2563, 2 กุมภาพันธ์). การรักษาโรคซางโดยภูมิปัญญาพื้นบ้าน. (นางสาวพรชิตา จิตมัง, ผู้สัมภาษณ์)