การพัฒนาเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำแพงเพชรในเขตปฏิรูปที่ดินทุ่งคอกวัว ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเกษตรกรของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำแพงเพชรในเขตปฏิรูปที่ดินทุ่งคอกวัว และ 2. นำเสนอแนวทางการพัฒนาเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำแพงเพชรในเขตปฏิรูปที่ดินทุ่งคอกวัว ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกร โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) สำรวจกลุ่มเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินทุ่งคอกวัว จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเกษตรกรของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำแพงเพชรในเขตปฏิรูปที่ดินทุ่งคอกวัว ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า โดยภาพรวมความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง ด้านความพอประมาณกับด้านการจัดที่ดิน มีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงสุด (X1, Y1 = 0.64) และด้านการจัดที่ดินกับด้านการมีภูมิคุ้มกัน (X3, Y1 = 0.61) และมีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำสุด คือ ด้านการมีภูมิคุ้มกันกับด้านการคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (X3, Y4 = 0.13)
- แนวทางการพัฒนาเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดกำแพงเพชรในเขตปฏิรูปที่ดินทุ่งคอกวัว ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ด้านการจัดที่ดิน คือ เกษตรกรต้องมีการจัดแบ่งพื้นที่ดินในการเพาะปลูก และมีแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการทำการเกษตร ด้านการสร้างมูลค่าที่ทำกิน คือ เกษตรกรต้องมีการเพาะปลูกพืชหมุนเวียน และปลูกพืชผักไว้ เพื่อบริโภคในครัวเรือนในพื้นที่ดินของตนเอง ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร คือ เกษตรกรต้องสามารถพึงพาตนเองได้ และการวางแผนปรับเปลี่ยนการผลิต ด้านการคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คือ เกษตรกรต้องมีสิทธิ์ในพื้นที่ดินเพื่อทำการเกษตร และให้ตกทอดไปสู่บุตรหลาน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. จารุวรรณ บัวทุม. (2556). การพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกรณีศึกษาสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัดพิจิตร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
3. ชลิต ศานติวรางคณา และดิเรก ธรรมารักษ์. (2558). คุณภาพชีวิตของเกษตรกร: กรณีศึกษาในเขตพื้นที่ภาคกลาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 7(2).
4. ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ. เจด็จ คชฤทธ. (2560). ศึกษาการสร้างตัวแบบการจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน ตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา, 12(2).
5. ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2557). สู่สังคมไทยเสมอหน้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
6. ยิ่งศักดิ์ ไกรพินิจ, ธีระวัฒน์ จันทึก, พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). การจัดการการเกษตรสมัยใหม่ของประเทศไทย”. วารสารวิจัยและพัฒนา, 12 (2).
7. วริพัสย์ เจียมปัญญารัช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของเกษตรกรอินทรีย์ของไทย: บทเรียนจากเกษตรกรรายย่อย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(1).
8. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดกำแพงเพชร. เอกสารสำนักงาน 2561. (อัดสำเนา).
9. สุพัดชา โอทาศรี. (2554). การดำรงอยู่ของอาชีพชาวนาไทย: กรณีศึกษาชาวนาจังหวัดลพบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.