การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล: กรณีศึกษากองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

วิสุทธิ บุญญะโสภิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการใช้หลักอปริหานิยธรรมในการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และ 2. เสนอแนวทางการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมเพื่อการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล ทำการศึกษาวิจัยด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการสนทนากลุ่ม แล้วนำมาวิเคราะห์และเรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนาความ


ผลการวิจัยพบว่า


  1. กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าไม้ มีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับหลักอปริหานิยธรรม ได้แก่ มีการประชุมกันเนืองนิตย์ มีการประชุมทุกไตรมาส ในการประชุมใช้เกณฑ์จำนวนกรรมการครบองค์ประชุมเป็นหลัก ยึดระเบียบที่ สปสช.แนะนำโดยยังไม่มีการออกระเบียบเพื่อการทำงานเป็นการเฉพาะของพื้นที่ มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชาวบ้านและแกนนำมาร่วมทำงาน มีการจัดทำโครงการเพื่อเด็กปฐมวัย กลุ่มเยาวชนและวัยรุ่นและกลุ่มสตรี แต่ยังดำเนินงานไม่ครอบคลุมทุกกิจกรรม มีการทำงานที่เชื่อมโยงกับวันสำคัญของชาติและวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม และมีการดูแลพระสงฆ์และให้ความรู้ต่อประชาชนในเรื่องการถวายอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพ

  2. แนวทางการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมเพื่อการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล มีดังนี้ (1) ควรจัดประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง โดยจัดระเบียบวาระที่ดี มีการสร้างความเข้าใจต่อเรื่องที่บรรจุเป็นระเบียบวาระ มีการบันทึกผลการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร (2) มีการสร้างความพร้อมเพรียงในการมาประชุมและเลิกประชุม ทำกิจที่ได้รับมอบหมายจากมติที่ประชุม มีการสื่อสารล่วงหน้ากรณีมาประชุมล่าช้าหรือมาไม่ได้ มีกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน (3) ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง มีการพัฒนาศักยภาพกรรมการอย่างต่อเนื่อง จัดทำแผนพัฒนาสุขภาพชุมชนและจัดสรรงบประมาณอย่างเป็นธรรม ออกระเบียบที่จำเป็นสำหรับการทำงานในพื้นที่ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้องโปร่งใส มีการสื่อสารเผยแพร่งานให้กับประชาชนในพื้นที่ (4) มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิหรือปราชญ์ชาวบ้านมามีส่วนร่วม ให้ความเคารพบทบาทผู้เป็นประธาน ขยายกิจกรรมบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุมและจัดบริการแก่ผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่รับผิดชอบ (5) ให้การดูแลและให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบาง สนับสนุนศูนย์พัฒนาการเด็กเล็ก และให้ความเคารพและให้เกียรติต่อเพศสตรี (6) เชื่อมโยงงานกับสิ่งดีของชาติและชุมชน คิดค้นนวัตกรรมด้านสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ความเคารพต่อสถานที่สำคัญ และ (7) จัดกิจกรรมบริการสาธารณสุขเพื่อดูแลสุขภาพของพระสงฆ์และสามเณร เปิดโอกาสให้พระสงฆ์เข้ามามีบทบาท และมีการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางศาสนาเพื่อสุขภาวะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กิตติ ศรีสมบัติ. (2558). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารงานของเทศบาลตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. (ปริญญาวิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

2. ชนิตา จิรวสุกุล. (2558). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. (ปริญญาวิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

3. นพดล พรมรักษา. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพภาพแห่งชาติ เขต 1 เชียงใหม่. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(32).

4. พรทิพย์ ขุนวิเศษ. (2558). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท. (ปริญญาวิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

5. พระขจรศักดิ์ กิตฺติวุฑฺโฒ (รักพงค์). (2558). การบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. (ปริญญาวิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 28). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

6. สถาบันพระปกเกล้า. (2561). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

7. สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. (2555) ระบบหลักประกันสุขภาพไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท ศรีเมือง จำกัด.

8. สุทธิพงษ์ โคตรวันทา. (2557). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเค็ง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(2).

9. เสนอ อัศวมันตา. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักอปริหานิยธรรม ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. (ปริญญาวิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

10. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2560). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: บริษัท อีแอนด์ไอ ครีเอทพลัส จำกัด.

11. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2560). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.

12. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

13. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: บริษัท เอบิช อิตเตอร์กรุ๊ป จำกัด.

14. สำเนา เภาศรี. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ของกลุ่มโรงเรียนวังทอง สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. (ปริญญาวิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.