การสังเคราะห์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา 30 คัมภีร์ธรรมที่คนไทยควรอ่าน

Main Article Content

พระมหาไฮ้ ธมฺมเมธี (แซ่ฉั่ว)

บทคัดย่อ

30 คัมภีร์ธรรมที่คนไทยควรอ่าน โดยทำการศึกษาทั้งในเชิงเอกสารและข้อมูลเชิงประจักษ์ จากแบบบันทึกสาระสำคัญ เป็นกระบวนศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการแจกแจงความถี่ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็นแบบบันทึกสาระสำคัญ ผลการวิจัย พบว่า วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา 30 คัมภีร์ธรรมที่คนไทยควรอ่าน แบ่งได้เป็น 9 ประเภท คือ 1) ประวัติพระพุทธศาสนา ชินกาลมาลีปกรณ์, ตำนานมูลศาสนา, กาลานุกรม : พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก และแก่นพุทธศาสนา 2) ประวัติของพระพุทธเจ้า ได้แก่ ปฐมสมโพธิ, พุทธประวัติจากพระโอษฐ์, และสังคีติยวงศ์ 3) พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์, อริยสัจจากพระโอษฐ์, และอิทัปปัจจยตา 4) หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระไตรปิฎกฉบับประชาชน, ธรรมาธิบาย : หลักธรรมในพระไตรปิฎก, และปัญญาวิวัฒน์ 5) ตัวอย่างคัมภีร์ในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ วิสุทธิมรรค, วิมุตติมรรค และมิลินทปัญหา 6) การอ้างอิงในการศึกษาเรียนรู้ ได้แก่ พจนานุกรม ฉบับประมวลศัพท์, พจนานุกรม ฉบับประมวลธรรม และพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ 7) การเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิต ได้แก่ พุทธธรรม, คู่มือมนุษย์, ธรรมนูญชีวิต และมงคลทีปนี 8) การกระทำของมนุษย์ที่เรียกว่ากรรม ได้แก่ กรรมทีปนี, วิปัสสนาทีปนี และวิมุตติรัตนมาลี และ 9) มนุษย์จะไปอยู่ที่ไหนเมื่อตายไปและไปเกิดใหม่ ได้แก่ ภูมิวิลาสินี, ไตรภูมิกถา, โลกทีปกสาร และจักกวาฬทีปนี

Article Details

How to Cite
ธมฺมเมธี (แซ่ฉั่ว) พ. (2020). การสังเคราะห์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา 30 คัมภีร์ธรรมที่คนไทยควรอ่าน. วารสารวิจยวิชาการ, 3(3), 13–24. https://doi.org/10.14456/jra.2020.2
บท
บทความวิจัย

References

กองวิชาการ. (2551). สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก. แคลิฟอร์เนีย: มหาวิทยาลัยธรรมกาย.

กองวิชาการ. (2557). งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พระนครศรีอยุธยา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชาติเมธี หงษา. (2559). พระไตรปิฎกเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พระสุธีธรรมานุวัตร และคณะ. (2552). การศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในคัมภีร์ธรรม วัดสูงเม่น จังหวัดแพร่. (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์.

มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. (2558). เปฎโกปเทศปกรณ์ (บาลี-ไทย) ฉบับภูมิพโลภิกขุ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). โครงการปริวรรตอักษรขอมและอักษรโบราณท้องถิ่น ชำระและแปลพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

สิทธิ์ บุตรอินทร์. (2545). ปรัชญานิพนธ์. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.