วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาครัฐ เครือข่ายทางสังคม และองค์กรชุมชนกับการขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่สี่แยกอินโดจีน

Main Article Content

พระราชรัตนสุธี (ขวัญรัก เกษรบัว)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาครัฐ เครือข่ายทางสังคม และองค์กรชุมชนกับการขับเคลื่อนพลวัตทางวัฒนธรรมของพื้นที่สี่แยกอินโดจีน และ 2) ศึกษาทุนทางวัฒนธรรมและเพื่อสร้างการอยู่รวมกันของประชาชนในพื้นที่สี่แยกอินโดจีน เป็นการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลตามประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ และสรุปรายงานวิจัย ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสัมพันธ์ของภาครัฐ เครือข่ายทางสังคม และองค์กรชุมชนกับการขับเคลื่อนพลวัตทางวัฒนธรรมของพื้นที่สี่แยกอินโดจีน พบว่า การทำงานของเครือข่ายเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุน และส่งเสริมให้ประชาชน มีพลังในการพัฒนาประเทศอย่างสร้างสรรค์ อันเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาประเทศยุคใหม่ ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็คือเพื่อความประทับใจร่วมกัน ความความปรองดอง สมานฉันท์ เป็นมิตรกัน การใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นหนทางที่นำไปสู่มิตรภาพ ตลอดจนการทำงานร่วมกัน ทั้งนี้ท้องถิ่นต้องสร้างระบบการดำเนินงานทางเครือข่ายทางสังคมร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบร่วมกัน กระบวนการทำงานที่เชื่อมประสานจุดเล็กและขยายไปสู่หน่วยใหญ่ระดับชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของฝ่ายรัฐที่มีส่วนส่งเสริมการประกอบธุรกิจของเอกชน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของชาติโดยรวม และ 2) ทุนทางวัฒนธรรมและเพื่อสร้างการอยู่รวมกันของประชาชนในพื้นที่สี่แยกอินโดจีน วัฒนธรรมในจังหวัดพิษณุโลก พบว่า ขนบธรรมเนียม ประเพณี นับเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่มีมาช้านาน อีกทั้งยังใช้เป็นกุศโลบายให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข การสืบทอดวัฒนธรรม เป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่ง ที่จะดำรงไว้ซึ่งสิ่งที่ดีงามสืบไป การเรียนรู้และฝึกตนเองให้เห็นคุณค่าจึงเป็นวิธีการที่ดี และควรทำตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยการปลูกจิตสำนึก ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะการอบรมสั่งสอน หรือการปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีก็ตาม โดยเริ่มจากชุมชน

Article Details

How to Cite
(ขวัญรัก เกษรบัว) พ. . (2020). วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาครัฐ เครือข่ายทางสังคม และองค์กรชุมชนกับการขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่สี่แยกอินโดจีน. วารสารวิจยวิชาการ, 3(3), 1–12. https://doi.org/10.14456/jra.2020.1
บท
บทความวิจัย

References

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการสร้างเครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ยุพิน เถื่อนศรี และนิชภา โมราถบ. (2559). การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ ตำบลวังกะพี้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์:สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.

ยุวดี รอดจากภัย. (2560). การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2559). การรองรับสถานภาพองค์กรชุมชน. เข้าถึงได้จาก http://www.codi.or.th/community.

อาภาพันธ์ พันธุ. (2543). เครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีผลต่อการคงอยู่ขององค์กรชุมชน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.