การบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่า ตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

พระคำรณ อติภทฺโท (ทองน้อย)
พระครูนิวิฐศีลขันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่ากับหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร และ 2. นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่าตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกข่าทั้ง 7 หมู่บ้าน ในเขตตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จากสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 298 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยทำการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคน เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่ากับหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร พบว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (Pearson Correlatin (r) =0.744**) 

  1. แนวทางการบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่าตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย ด้านการรับรู้มุมมองที่เหมือนกันควรมีการ ร่วมพูดคุย ประสานงาน กำหนดราคา และการป้องกันโรคระบาด ด้านสร้างความคิดร่วมกันควรมีจัดทำข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลผลิต บันทึกข้อมูลการผลิต ต้นทุน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ด้านรับผลประโยชน์ร่วมกันควรมีการส่งเสริมให้ผู้ปลูกข่าได้มีสิทธิแสดงความคิดเห็น มีการจัดทำกฎระเบียบ แปรรูป และขอให้ภาครัฐเข้ามาส่งเสริม ด้านการมีส่วนร่วมในเครือข่ายควรมีโอกาสในการเลือกผู้นำกลุ่ม ร่วมกำหนดกฎระเบียบ และร่วมคัดเลือกคณะกรรมการบริหาร ด้านมีความสามัคคีกันในเครือข่าย ควรมีการเคารพซึ่งกันและกัน นอบน้อมให้เกียรติกัน แนะนำวิธีการแก้ไข้ปัญหา ด้านการพึ่งพากันในการรักษาระบบนิเวศน์ มีการกำหนดเป้าหมาย จัดหาตลาดและรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และด้านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในเครือข่าย ควรมีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ให้ภาครัฐเข้ามาแนะนำหาแนวทางใหม่ ๆ และควรมีการแชร์ประสบการณ์ดี ๆ หรือใหม่ ๆ ให้แก่กันและกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรภัทร จิตตรีพรต. (2562). “ผู้ว่าฯพิจิตร พร้อมเกษตรจังหวัด ลงพื้นที่เยี่ยมเกษตรกร เน้นย้ำให้ใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนการใช้สารเคมี”, สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพิจิตร. (อัดสำเนา).

เทิดศักดิ์ คำเหม็ง. (2552). “การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระบบการเกษตรทฤษฎีใหม่ของกลุ่มเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน”. ในเอกสารประกอบการสัมมนาเศรษฐกิจพอเพียงกับการประยุกต์ใช้: (วิจัยขยายผลสู่ชุมชน). หนองคาย: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

พระครูวิลาศกาญจนธรรม (เล็ก สุธมฺมปญฺโญ). (2555). การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักภิกขุอปริหานิยธรรมของคณะสงฆ์อำเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดสุรพงษ์ ติญาโณ (แก้วกอ). (2556). การศึกษาวิเคราะห์การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม หลักอปริหานิยธรรม: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579). (2559). สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ภูมิ สุวะโสภา. (2558). ทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักพุทธธรรม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีระศักดิ์ จุลดาลัย. (2552). “การวิจัยการจัดการความรู้เศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง กลุ่มเกษตรกรทำไร่สับปะรด ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม”. ในเอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการประยุกต์ใช้: (งานวิจัยขยายผลสู่ชุมชน). หนองคาย: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช).

สุทิน ลี้ปิยะชาติ. (2550). “วิถีชีวิตพอเพียงในชุมชน: กรณีศึกษา 13 ชุมชนเข้มแข็ง”. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 44 (4).