การศึกษาเพื่อปรับปรุงการจัดเก็บอุปกรณ์ช่าง เทคโนโลยี และการเข้า-ออกงาน กรณีศึกษา กองร้อยรถยนต์พยาบาล โรงพยาบาลอานันทมหิดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขเพื่อปรับปรุงผลิตภาพ โดยใช้แนวคิด และแผนภูมิแสดงเหตุและผล หลักกิจกรรม 5ส. เทคโนโลยี และแอพพลิเคชั่น Timemint การตรวจสอบสถานที่ที่เกิดปัญหาในหน่วยงาน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญกองร้อยรถยนต์พยาบาล โรงพยาบาลอานันทมหิดล จำนวน 7 คน ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิของการจัดเก็บอุปกรณ์ช่าง การบันทึกเอกสารการรับ-ส่ง และการเข้า-ออกงานของบุคลากรในหน่วยงาน ผลการวิจัย พบว่า 1. สาเหตุของปัญหา ประกอบด้วย การจัดเก็บอุปกรณ์ช่างไม่เรียบร้อยเนื่องจากมีพื้นที่การจัดเก็บไม่เพียงพอและจัดไม่เป็นระเบียบ การบันทึกข้อมูลรับ-ส่งเอกสารมีความล้าสมัย เนื่องจากยังมีการใช้สมุดในการจดบันทึก และการเข้างานสายของบุคลากรในหน่วยงาน เนื่องจากเครื่องสแกนนิ้วมืออยู่ไกลจากหน่วยงาน และ 2. แนวทางการแก้ไขเพื่อปรับปรุงผลิตภาพ โดยการสำรวจและติดตามผลการปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้น ผลการปรับปรุงปัญหาที่ 1 พบว่าสามารถลดเวลาในการค้นหาจากเดิม 4 นาที/ครั้ง ลดลงเหลือ 1นาที/ครั้ง สามารถคิดเป็นอัตราร้อยละ 75 ผลการปรับปรุงปัญหาที่ 2 พบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ในการจดบันทึกจากเดิม 350 บาท/เดือน ลดลงเหลือ 120 บาท/เดือน สามารถคิดเป็นอัตราร้อยละ 65.71 และผลการปรับปรุงปัญหาที่ 3 พบว่าสามารถลดจำนวนการมาสายจากเดิม 10 คน/เดือน ลดลงเหลือ 4 คน/เดือน สามารถคิดเป็นอัตราร้อยละ 60
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ปิยฉัตร บูระวัฒน์. (2559). การปรับปรุงผลิตภาพและคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็นดูเคชั่น.
ลลัลดา ชมโฉม. (2559). การศึกษาปัญหาและการหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านเอกสารประกอบการเดินพิธีการกรมศุลกากร (ใบขนขาออก) กรณีศึกษา บริษัทตัวแทนส่งออกสินค้าทางอากาศแห่งหนึ่ง. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน). คณะโลจิสติกส์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศุภชัย นาทะพันธ์. (2551). การควบคุมคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ด ยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
Timemint. (2560). แอปตอกบัตรมือถือ. เข้าถึงได้จาก https://www.timemint.com/
Wikipedia. (2563). โรงพยาบาลอานันทมหิดล. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org.