การศึกษาเพื่อปรับปรุงการตรวจสอบมาตรการการปิดวาล์วน้ำและอุปกรณ์ กรณีศึกษา บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขเพื่อปรับปรุงการตรวจสอบมาตรการการปิดวาล์วน้ำและอุปกรณ์ กรณีศึกษา บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด โดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การเก็บข้อมูลและตรวจสอบสถานที่ประกอบการที่เกิดปัญหา การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความสะอาดและฝ่ายซ่อมบำรุง จำนวน 7 คน และนำแนวคิดและแผนภูมิแสดงเหตุและผล วงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) และการลดความสูญเปล่าด้วยหลักการ ECRS เป็นกระบวนการในการปรับปรุงการตรวจสอบมาตรการการปิดวาล์วน้ำและอุปกรณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาที่พบ คือ 1) คน คือ พนักงานรักษาความสะอาดไม่ปิดวาล์วน้ำหลังเลิกงาน 2) อุปกรณ์ คือ อุปกรณ์ชิ้นส่วนชำรุด และ 3) วิธีการ คือ ไม่ได้ระบุหน้าที่ในการปิดวาล์วน้ำและไม่มีการตรวจสอบอุปกรณ์ และ 2. แนวทางปรับปรุงการตรวจสอบมาตรการการปิดวาล์วน้ำและอุปกรณ์ พบว่า สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการจัดทำใบตรวจสอบการปิดวาล์วน้ำและอุปกรณ์ข้อต่อสายยางชำระ ผลการปรับปรุงพบว่า สามารถลดต้นทุนค่าเสียหายจากเดิม 95,000 บาท ลดลง 94,950 บาท สามารถคิดเป็นอัตราร้อยละ 99.95
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จินตนัย ไพรสณฑ์. (2549). การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็นดูเคชั่น.
บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด. (2555). รู้จัก บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด. เข้าถึงได้จาก http://www.pttgroup.com/th/Company/Pages/thappline.aspx
บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด. (2562). สัดส่วนการถือหุ้น บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด. เข้าถึงได้จาก https://www.thappline.co.th/Company_Profile /Index /4/TH
ปิยฉัตร บูระวัฒน์. (2559). การปรับปรุงผลิตภาพและคุณภาพและการวัดผล. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
มงคล กิตติญาณขจร. (2562). การประยุกต์ใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต: กรณีศึกษา กระบวนการผลิตก้อนเชื้อเห็ด. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 9(2), 71-89
ศุภชัย นาทะพันธ์. (2551). การควบคุมคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
ศุภชัย อาชีวระงับโรค. (2546). Practical PDCA: แก้ปัญหาและปรับปรุงงานเพื่อความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีโน ดีไซน์.
สรณ์ศิริ เรืองโลก. (2560). การปรับปรุงประสิทธิภาพของสายการผลิตสมอลล์เอิรท์ลีคเบรกเกอร์. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม). คณะวิศวกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.