การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรแบบมีส่วนร่วมในเขตตำบลท่าขมิ้น อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรแบบมีส่วนร่วม ในเขตตำบลท่าขมิ้น อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คนหรือรูป โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
- การมีส่วนร่วมในการประเมินผล พบว่า 1.1 ควรเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ใช้น้ำสามารถ ติดตามดูแล รักษาคู คลองไม่ให้ตื้นเขิน หรือชำรุด 1.2 ควรหมั่นตรวจสอบ ติดตามความต้องการใน การใช้น้ำของเกษตรกรในพื้นที่ และ 1.3 ควรมีการแจ้งผลการบริหารจัดการน้ำในรอบระยะเวลาการ ผลิตเพื่อนำไปสู่การวางแผนในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นในลักษณะ เดียวกันในรอบระยะเวลาการผลิตครั้งต่อไป
- การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ พบว่า 2.1 ควรจัดทำเวทีให้ร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อรับทราบปัญหา 2.2 ควรมีการคัดเลือกคณะกรรมการ และประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำ 2.3 ควรกำหนดกฎกติกาและบทลงโทษในการใช้น้ำร่วมกัน 2.4 ควรกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและมีการกำหนดรอบ วัน เวลาในการเปิด-ปิด และ 2.5 ควรแลกเปลี่ยนปัญหาหรือความต้องการของกลุ่มผู้ใช้น้ำด้วยกัน
- การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ พบว่า 3.1 ควรจัดส่งเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนของชุมชนเข้าร่วมเสนอแนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร 3.2 ควรสร้างการมีจิตสาธารณะในการบริจาค เงิน วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับดูแลรักษาคู คลอง 3.3 ควรกำหนดกิจกรรมร่วมกันในการขุดลอกคู คลอง 3.4 ควรรณรงค์เรื่องการประหยัดน้ำ และร่วมกันดูแลรักษาความสะอาดแหล่งต้นน้ำ และ 3.5 ควรจัดประชาคมหมู่บ้านหรือชุมชนเพื่อร่วมกันหาข้อตกลงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น จากการใช้น้ำในพื้นที่ได้
- การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ พบว่า 4.1 ควรประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ รอบเวรการรับน้ำได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว 4.2 ควรบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เพียงพอต่อการทำ การเกษตร 4.3 ควรมีการจัดสรรแบ่งปันน้ำให้แก่สมาชิกได้ตรงตามความต้องการ 4.4 ควรบริหาร จัดการน้ำอย่างเป็นระบบ และ 4.5 ควรกำหนดแนวทาง ข้อตกลงชุมชนเพื่อสามารถต่อรองในการ ขอรับน้ำเพิ่มเติมจากชลประทาน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมชลประทาน. (2561). “การจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา”. เข้าถึงได้จาก http://www. waterforthai.go.th.
ประพันธ์ วิชา. (2557). “การบริหารจัดการน้ำกรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา”. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ปภาวดี ตุลาดิลก. (2561). “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง ศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ”. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
รมย์รวินท์ กลิ่นศรีสุข (2557). “การมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำชลประทาน กรณีศึกษาโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาชัณสูตร จังหวัดสิงห์บุรี”, (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.