ประชาชนกับการมีส่วนร่วมต่อการเมืองการปกครองในท้องถิ่น

Main Article Content

ศักดา พลเข้ม
พงศภัค พวงทอง
จารุณี บุญอ่อน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการเมืองการปกครองในท้องถิ่นพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน ถือเป็นหัวใจสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตยเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจต่อการเมืองการปกครองในท้องถิ่นและระดับประเทศ และที่สำคัญการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนนั้นเป็นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและควบคุมการทำงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐได้เป็นอย่างดี การปกครองท้องถิ่นถือว่าเป็นพื้นฐานของประชาธิปไตยระดับชาติ เพราะการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตย ในระดับชาติจะประสบความสำเร็จได้ก็จำเป็นต้องอาศัยพัฒนาการของการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่นก่อน โดยการสร้างความเข้าใจและการยอมรับจากประชาชนว่าการปกครองท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเขา นอกจากนี้การปกครองท้องถิ่นเปรียบเสมือนสถาบันฝึกอบรมประชาชนให้มีความเข้าใจในกระบวนการและกลไกทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะจะช่วยให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้และเกิดความเข้าใจในระบบการเมืองมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
พลเข้ม ศ. ., พวงทอง พ. ., & บุญอ่อน จ. . (2021). ประชาชนกับการมีส่วนร่วมต่อการเมืองการปกครองในท้องถิ่น. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 269–282. https://doi.org/10.14456/jra.2021.49
บท
บทความวิชาการ

References

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ.พี.กราฟฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด, 2554.

เรณุมาศ รักษาแก้ว. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชน. เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th/ index.php?title=

สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการเลือกตั้ง. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.