เศรษฐศาสตร์การเมืองของการแสวงหาและใช้ผลประโยชน์ส่วนเกินขององค์กรศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการแสวงหาและการใช้ผลประโยชน์ส่วนเกินขององค์กรศาสนา และ 2) ศึกษาบทบาทของผู้กระทำการที่อยู่ในกระบวนการแสวงหาและใช้ผลประโยชน์ส่วนเกินขององค์กรศาสนา โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประยุกต์การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพในแนวประวัติศาสตร์ เข้ามาใช้เป็นวิธีวิทยาในการศึกษา อาศัยกรอบแนวความคิดจากฐานคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมือง เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ จำนวน 3 วัด คือ วัดบ้านขันติ วัดบ้านศรัทธา วัดบ้านปัญญาผลการวิจัย พบว่า 1) สถาบันพระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อสังคมไทยนำไปสู่การปลูกฝังทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม จนเกิดการศรัทธานำมาซึ่งการแสวงหาผลประโยชน์ของวัดสามารถแยกออกเป็น 2 ประเด็น คือ การแสวงหาผลประโยชน์ผ่านการสร้างเรื่องเล่า และการสร้างกระแสจนนำมาซึ่งกิจกรรมในเชิงพุทธพาณิชย์ วัดถูกจัดให้เป็นองค์การที่ไม่แสวงหาผลกำไร วัดแสวงหารายได้จากการพึ่งพาการระดมทุนจากแหล่งต่าง ๆ เป็นสำคัญจากการบริจาคหรือการทำบุญทางศาสนา และการแสวงหาหรือการระดมทุนก็มีหลากหลายกลยุทธ์ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เริ่มจากการะบวนการผลิต คือ สินค้า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั้น สินค้า จะถูกผลิตขึ้นเนื่องจากตัวมันเป็นแหล่งของกำไร โดยสินค้าในที่นี้ คือ ความเชื่อ ความศรัทธา ทางพระพุทธศาสนา ทางไสยศาสตร์ และบุญพาณิชย์ จนนำมาสู่การสะสมทุนด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านวัฒนธรรม และ 2) ผู้กระทำการที่อยู่ในกระบวนการแสวงหาและใช้ผลประโยชน์ส่วนเกินของวัด พบว่า กลุ่มทุน กลุ่มชนชั้นข้าราชการ กลุ่มชนชั้นทางการเมือง จะเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนในการแสวงหาผลประโยชน์ และการใช้ผลประโยชน์ เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้มีเครือข่ายทางสังคมและเป็นที่ยอมรับในสังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กฤตยภรณ์ ตันติเศรษฐ. (2556). กระบวนการกลายเป็นสินค้าของประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง). คณะเศรษฐศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2550). วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น วัดพัฒนาตัวอย่าง และอุทยานการศึกษาในวัด ประจำปีพุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2552). คู่มือพุทธศาสนิกชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ปฏิญญา ลิ้มโอฬารสุขสกุล. (2554). มวยไทย: กระบวนการกลายเป็นสินค้าในกระแสความทันสมัย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม). คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2544). ทุนนิยมกับพุทธศาสนา. ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัญญา เลิศสุขประเสริฐ. (2548). กระบวนการกลายเป็นสินค้าของพิธีกรรมงานศพ. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์). คณะเศรษฐศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระเทพรัตนนายก. (2562, 5 พฤษภาคม). สิ่งเหล่านี้นำมาสู่การผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของประชาชน. (นายศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์, ผู้สัมภาษณ์).
พระขวัญเมือง สุหะ. (2546). พุทธศาสนากับลัทธิบริโภคนิยม: ศึกษาเปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์แนวพุทธกับเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระครูปลัดอุทัย รตนปัญฺโญ. (2562, 5 พฤษภาคม). สิ่งเหล่านี้นำมาสู่การผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของประชาชน. (นายศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์, ผู้สัมภาษณ์).
ภณกุล ภวคุณวรกิตติ์. (2555). พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ในพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติของไทย: กรณีศึกษาวัดในจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยศ สันตสมบัติ. (2535). แม่หญิงสิขายตัว: ชุมชนและการค้าประเวณีในสังคมไทย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรนันท์ ลิมปสถิรกิจ. (2553). ความเชื่อที่ถูกทำให้เป็นสินค้า: ศึกษากรณีเบี้ยวัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต). คณะรัฐศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2560). ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธ ศาสนา ปี 56-60. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2550). คู่มือการติดตามประเมินผลการจัดกิจกรรมที่เป็นมาตรฐานสำหรับวัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
หนังสือพิมพ์ MGR ONLINE. (2563). เงินทอนวัด: การกินตามน้ำ. เข้าถึงได้จาก https://mgr online.com/daily/detail/9600000100665.
หนังสือพิมพ์แนวหน้า. (2563). กฎ กติกา ธุรกิจ: เงินทอนวัด. เข้าถึงได้จาก http://www.oag. go.th/sites/default/files/files/news.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2563). รมต.จี้ พศ.สอบ ปัญหาวัดโสธรฯ จัดผลประโยชน์. เข้าถึงได้จาก https ://www.thairath.co.th/content/451827.
อลงกรณ์ ประมวญทรัพย์. (2557). พุทธปฏิมาขนาดใหญ่ในดินแดนไทย: ความศรัทธา และพุทธพานิชย์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.