การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมงานศพในชุมชนเมือง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

พระมหาพฤหัสบ์ เรืองสมบัติ
ธีระพงษ์ มีไธสง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมงานศพในชุมชนเมือง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้อาศัยอยู่ในชุมชนปัจฉิมทัศน์ 1 และชุมชนปัจฉิมทัศน์ 2 รวมถึงชุมชนใกล้เคียงและชุมชนอื่น ๆ  และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวมจำนวน 52 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกต นำข้อมูลมารวบรวมและวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมงานศพในชุมชนเมืองเกิดจากความคิดและความเชื่อที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมงานศพซึ่งสัมพันธ์กับวิถีชีวิตและแบบแผนในการดำเนินชีวิตของผู้คนในชุมชนเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมซึ่งเป็นผลพวงมาจากปัจจัยหรือเงื่อนไข 2 ส่วน คือ 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความคิด ความเชื่อ และวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนที่กลายเป็นสังคมเมือง ส่งผลให้ความคิด ความเชื่อรวมถึงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป และ 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างชุมชนสู่ความเป็นชุมชนเมือง เศรษฐกิจ จากเดิมเป็นเศรษฐกิจแบบชาวบ้านที่เน้นการพึ่งพา แต่ปัจจุบันมีธุรกิจเกี่ยวกับงานศพเกือบจะครบวงจร ส่วนการเมือง มีผู้นำทางศาสนาและบ้านเมืองได้ร่วมกันออกแบบการจัดงานศพโดยได้รับอิทธิพลจากส่วนกลาง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมการจัดงานศพแบบเดิมที่ชุมชนต่างพึ่งพาอาศัยกันตามศักยภาพของเครือข่ายญาติพี่น้อง แต่ปัจจุบัน ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกได้เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้พิธีการจัดงานศพเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก

Article Details

How to Cite
เรืองสมบัติ พ. ., & มีไธสง ธ. . (2020). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมงานศพในชุมชนเมือง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจยวิชาการ, 3(3), 25–34. https://doi.org/10.14456/jra.2020.3
บท
บทความวิจัย

References

ฉวีวรรณ วงค์ศรี. (2555). การเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมงานศพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2553). การเป็นสมัยใหม่กับแนวคิดชุมชน. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

ฐิติศักดิ์ เวชกามา. (2553). แนวคิด ทฤษฎี วัฒนธรรม. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทรงคุณ จันทจร. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรมขั้นสูง. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทวีศิลป์ โพธิ์ศรี. (2560, 17 พฤศจิกายน). การเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมงานศพในชุมชนเมือง. (พระมหาพฤหัสบ์ เรืองสมบัติ, ผู้สัมภาษณ์)

เบญจมาศ ศรีเกษ. (2560, 14 พฤศจิกายน). การเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมงานศพในชุมชนเมือง. (พระมหาพฤหัสบ์ เรืองสมบัติ, ผู้สัมภาษณ์)

ปั่น พรรณะ. (2561, เมษายน 2561). การเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมงานศพในชุมชนเมือง. (พระมหาพฤหัสบ์ เรืองสมบัติ, ผู้สัมภาษณ์)

พระครูศรีมหาชยาภิมณฑ์. (2560, 19 สิงหาคม). การเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมงานศพในชุมชนเมือง. (พระมหาพฤหัสบ์ เรืองสมบัติ, ผู้สัมภาษณ์)

พระอธิการพิพัฒน์พงษ์ ฐานวุฑโฒ. (ใจกว้าง). (2555). ศึกษาความเปลี่ยนแปลงการจัดงานศพของชาวพุทธ กรณีศึกษาบ้านหมุน ตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มานิตตา ชาญไชย. (2554). การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์. จุฬาลงกรณ์วารสาร, 23(90).

เรณุการ์ ทองคำรอด. (2553). การปรับตัวต่อความสูญเสียและความโศกเศร้า ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.