นครสวรรค์: การวิเคราะห์นโยบายและการเตรียมความพร้อม สู่การพัฒนาเป็นจังหวัดจัดการตนเอง

Main Article Content

สมบัติ นวลระออง
ดิเรก ด้วงลอย
อาณัติ เดชจิต
จรรยา ลินลา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายและการเตรียมความพร้อมของจังหวัดนครสวรรค์สู่การพัฒนาเป็นจังหวัดจัดการตนเองและนำเสนอกลยุทธ์ในการเตรียมความพร้อมของจังหวัดนครสวรรค์สู่การพัฒนาเป็นจังหวัดจัดการตนเอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคน การสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูปหรือคน ประกอบด้วย กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มผู้นำองค์กรระดับท้องถิ่น กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน และกลุ่มผู้นำองค์กรภาครัฐ และการวิเคราะห์ SWOT Analysis เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างและแบบสนทนากลุ่ม ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) การเตรียมความพร้อมการพัฒนาเป็นจังหวัดจัดการตนเองของจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า มีการเตรียมความพร้อมใน 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้างการปกครองมีการวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มุ่งไปสู่สภาพการณ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น มีการส่งเสริมสภาองค์กรชุมชนตำบลให้เป็นกลไกในการกระจายอำนาจ ประสานพลังสามัคคีร่วม ด้านการคลังมีความเป็นอิสระในการบริหารให้มีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ยึดหลักการบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน แหล่งที่มาของงบประมาณได้รับทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่นระดับจังหวัด ด้านงานบุคคลเปิดโอกาสให้ชุมชนร่วมกันถก แถลง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำมาสู่การกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชน ให้อำนาจในการจัดการทรัพยากรและการจัดการด้านวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น และ 2) กลยุทธ์ในการเตรียมความพร้อมของจังหวัดนครสวรรค์สู่การพัฒนาเป็นจังหวัดจัดการตนเอง ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ 1 การเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาด้านอำนาจกำกับดูแล กลยุทธ์ที่ 2 การเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาด้านมีหลักเกณฑ์และวิธีการ กลยุทธ์ที่ 3 การเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาด้านพัฒนา และกลยุทธ์ที่ 4 การเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาด้านสร้างภูมิคุ้มกันแบบยั่งยืน

Article Details

How to Cite
นวลระออง ส. ., ด้วงลอย ด. ., เดชจิต อ. ., & ลินลา จ. . (2020). นครสวรรค์: การวิเคราะห์นโยบายและการเตรียมความพร้อม สู่การพัฒนาเป็นจังหวัดจัดการตนเอง. วารสารวิจยวิชาการ, 3(3), 127–136. https://doi.org/10.14456/jra.2020.13
บท
บทความวิจัย

References

จังหวัดนครสวรรค์. (2563). ข้อมูลสำคัญจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปี 2563. เข้าถึงได้จาก http://www.nakhonsawan.go.th/joomla/index.php?option=com_content&view=article&id=1533:2561&catid=8&Itemid=102.

จารุณี ลุนภูงา. (2559). รูปแบบการจัดการศึกษาของจังหวัดจัดการตนเอง. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐวรรณ อารัมภ์วิโรจน์. (2557). แนวทางในการกระจายอำนาจแบบจังหวัดจัดการตนเอง : ศึกษากรณี “ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ พ.ศ. 2555”. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). คณะนิติศาสตร์: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ยนตรการ จินะคำปา และศิวรักษ์ ศิวารมย์. (2560). กระบวนการพัฒนาต้นแบบชุมชนบริหารจัดการตนเอง: กรณีของตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8(1).

สัญชัย ศรีตระกูล. (2558). แนวคิดและข้อเสนอการเป็นจังหวัดจัดการตนเองของฝ่ายต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชนบทศึกษาและการพัฒนา). วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วยอึ๊งภากร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. 8 (1980) Participation, s Place in Rural Development: Seeking ClarityThrough Speciality. New York: Cornell University.