รูปแบบการพัฒนาวัดด้วยวิถี 5ส โครงการวัด ประชา รัฐสร้างสุขของวัดมิ่งเมืองมูล

Main Article Content

พระครูสิริธรรมบัณฑิต
บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
ศศิวิมล แรงสิงห์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการพัฒนาวัดด้วยวิถี 5ส โครงการวัด ประชา รัฐสร้างสุข 2) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาวัดมิ่งเมืองมูลด้วยวิถี 5ส ผ่านเว็บไซต์ เป็นวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีประชากร 450 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 14 คน จำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคณะศรัทธาวัดมิ่งเมืองมูล และกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาวัด โดยเก็บข้อมูล 4 ประเภท ประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องตามขั้นตอนโครงการ การประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย และการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลภาคสนาม ในการพัฒนารูปแบบการนำเสนอผ่านเว็บไซต์ ใช้เทคนิคการทดสอบเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาวัดด้วยวิถี 5ส เพื่อสร้างสัปปายะ คือ สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน และสร้างวินัย ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนรอบวัด กลไกการสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ดำเนินการตามระบบและกลไกของโครงการ จนทำให้วัดมิ่งเมืองมูลได้รับโล่รางวัล “สัปปายะ” เป็นวัดต้นแบบ และบริษัท ควอลิตี้ เซรามิก จำกัด เป็นองค์กรต้นแบบประจำจังหวัดลำปาง ผลการวิจัย พบว่า ส่วนของเครือข่ายที่ร่วมพัฒนาวัด 5ส มีผลประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนคณะศรัทธาวัดมิ่งเมืองมูล มีผลประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และส่วนภาพรวม ผลประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการพัฒนารูปแบบการนำเสนอผ่านเว็บไซต์ wat3.com พบว่า การใช้สื่อมัลติมีเดีย รูปภาพ และเรื่องเล่า เผยแพร่ในสื่อสังคมเป็นหลัก และใช้วิธีการฝังเนื้อหาเชื่อมโยงจากเฟซบุ๊กดอทคอม และแชร์เนื้อหาออกไปยังโปรไฟล์ของเจ้าอาวาส กลุ่มชุมชน และกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาวัด ทำให้ผู้สนใจเข้าไปมีส่วนร่วมกับสื่อสังคมและเว็บไซต์เพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
พระครูสิริธรรมบัณฑิต, รุจจนพันธุ์ บ. ., & แรงสิงห์ ศ. . (2020). รูปแบบการพัฒนาวัดด้วยวิถี 5ส โครงการวัด ประชา รัฐสร้างสุขของวัดมิ่งเมืองมูล. วารสารวิจยวิชาการ, 4(1), 23–36. https://doi.org/10.14456/jra.2021.3
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ อู่ทองทรัพย์. (2559). หนังสือที่ระลึกในงาน พิธีถวายผ้ากฐินประจำปี 2559. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แม็ทซ์พริ้นติ้ง.

ณรงค์ เส็งประชา. (2539). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทักษ์อักษร.

ทะนงชัย บูรณพิสุทธิ์. (2545). บทบาทวัดกับชุมชนเมือง ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาชนบทศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

นพรัตน์ ไชยชนะ. (2556). บทบาทและความสำคัญของวัดพะโคะ (วัดราชประดิษฐาน) : ในบริบทสังคมกระแสปัจจุบัน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 14(2), 104-111.

พระมหาภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี และศศิวิมล แรงสิงห์. (2562). บทบาทและความสำคัญของวัดมิ่งเมืองมูล : ในบริบทสังคมกระแสปัจจุบัน. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(3), 151-164.

พระมหาเสงี่ยม สุวโจ (มณีวงษ์), พระครูพิพิธปริยัติกิจ, และ กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์. (2562). รูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(6), 2821-2841.

พระวีระศักดิ์ ชยธมโม (สุวรรณวงศ์). (2558). แนวทางการจัดการวัดสันติสุขตามหลักสัปปายะ 7: กรณีศึกษาวัดธารน้ำไหล สุราษฎร์ธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(2), 98- 114.

เพ็ญประภา บุตรละ, โอฬาร โรจนพรพันธุ์ และพรชัย มงคลนาม. (2558). ทักษะที่จำเป็นสำหรับสมาชิกทีมพัฒนาในสกรัม. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 11(2), 34-41.

ยุรนันท์ ตามกาล. (2557). บ้าน วัด โรงเรียน กับการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว. วารสาร HR intelligence, 9(1), 12-31.