รูปแบบการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเชิงพุทธในเขตสุขภาพที่ 3

Main Article Content

วิสุทธิ บุญญะโสภิต
พระเทพปริยัติเมธี
ศิริโรจน์ นามเสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเชิงพุทธ ในเขตสุขภาพที่ 3 เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์และปัญหาการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมอบหมายในเขตสุขภาพที่ 3 ประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร ชัยนาท พิจิตรและอุทัยธานี จำนวน 212 กองทุนจากประชากรทั้งสิ้น 452 กองทุน คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาได้ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และค่า F-test วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเชิงพุทธ ในเขตสุขภาพที่ 3 ใช้การสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญที่ได้จากการเจาะจง จำนวน 11 รูปหรือคน และขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบและยืนยันรูปแบบการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเชิงพุทธในเขตสุขภาพที่ 3 ใช้การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 รูปหรือคน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเชิงพุทธในเขตสุขภาพที่ 3 ประกอบด้วย 1. ปัจจัยด้านการจัดการ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) การวางแผน มีกระบวนการวางแผนดี มีแผนสุขภาพชุมชน และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่ดี 2) การจัดองค์กร มีโครงสร้างและการมอบหมายงานที่ดี กำหนดกฎระเบียบการทำงานและวางระบบการหนุนเสริมการทำงานที่ดี 3) การบุคลากร มีกระบวนการจัดหาคนทำงานที่ดี สร้างกลไกและเจ้าหน้าที่ทำงานเพียงพอ และมีการพัฒนาศักยภาพคนทำงานที่ดี 4) การอำนวยการ มีภาวะผู้นำของประธานกรรมการกองทุน จัดกระบวนการประชุมกรรมการและสร้างความร่วมมือกับกรรมการที่ดี มีระบบการสื่อสารที่ดี และจัดหาอุปกรณ์การทำงานที่เพียงพอ และ 5) การควบคุม มีกระบวนการบริหารโครงการที่ดี มีกลไกและกระบวนการติดตามประเมินผล วางระบบการตรวจสอบภายในและมีกระบวนการถอดบทเรียนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
บุญญะโสภิต ว., พระเทพปริยัติเมธี, & นามเสนา ศ. . (2020). รูปแบบการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเชิงพุทธในเขตสุขภาพที่ 3. วารสารวิจยวิชาการ, 4(1), 47–60. https://doi.org/10.14456/jra.2021.5
บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การสาธารณสุขไทย 2559-2560. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.

จันทิมา นวะมะวัฒน์ และคณะ. (2561). รายงานการประเมินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในเขตสุขภาพที่ 3, นครสวรรค์: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. (อัดสำเนา).

ณัฐนันทพล โปรเทียรณ์. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนสอนดนตรี กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นพดล พรมรักษา. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพภาพแห่งชาติ เขต 1 เชียงใหม่. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(32), 31-43.

บุณรดา กรรณสูต. (2558). การประยุกต์รูปแบบการบริหารเชิงพุทธของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรทิพย์ ขุนวิเศษ. (2558). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), (2552). ภาวะผู้นำเชิงพุทธ, กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

ไพศาล เครือแสง. (2557). รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนล่าง. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2557). วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานทางการศึกษา. ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 2(2), 7-20.

สถาบันพระปกเกล้า. (2561). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ และคณะ. (2555). ผลของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลต่อการเสริมพลังอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนในการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน. นนทบุรี: สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพ.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2560). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: บริษัท อีแอนด์ไอ ครีเอทพลัส จำกัด.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2557). กรุงเทพฯ: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

สุทธิพงษ์ โคตรวันทา. (2557). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเค็ง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(2), 284-295.