การกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการกักตุนสินค้าควบคุมและการจำหน่ายสินค้าเกินราคาที่กำหนดเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

Main Article Content

เนตรดาว ลิ้มวงษ์ทอง
วรรณวิภา เมืองถ้ำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการกำหนดความผิด
ให้เป็นความผิดมูลฐาน 2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในด้านการดำเนินการทางคดีอาญาของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการกักตุนสินค้าควบคุมและการจำหน่ายสินค้าเกินราคาที่กำหนด 3) ศึกษามาตรการทางกฎหมายในการกำหนดความผิดเกี่ยวกับการกักตุนสินค้าควบคุมและการจำหน่ายสินค้าเกินราคาที่กำหนดที่เป็นอาชญากรรมร้ายแรง และกำหนดกรอบคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้เป็นองค์ประกอบของความผิดมูลฐาน และ 4) เสนอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับการกักตุนสินค้าควบคุมและการจำหน่ายสินค้าเกินราคาที่กำหนดให้เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงิน ผลการวิจัย พบว่า 1) การกระทำความผิดเกี่ยวกับการกักตุนสินค้าควบคุมและการจำหน่ายสินค้าเกินราคาที่กำหนดสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกำหนดความผิดมูลฐานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 2) กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินสามารถลงโทษผู้ที่กระทำความผิดฐานฟอกเงินที่ได้รับจากการกระทำความผิดมูลฐาน ทำให้สามารถขยายขอบเขตการลงโทษทางอาญาได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำความผิดในรูปแบบองค์กรอาชญากรรม 3) ควรกำหนดให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับการกักตุนสินค้าควบคุมและการจำหน่ายสินค้าเกินราคาที่กำหนดที่มีมูลค่าทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป และที่มีลักษณะเป็นการค้าเป็นความผิดมูลฐาน และ 4) เสนอให้กำหนดให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับการกักตุนสินค้าควบคุมและการจำหน่ายสินค้าเกินราคาที่กำหนดเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

Article Details

How to Cite
ลิ้มวงษ์ทอง เ., & เมืองถ้ำ ว. . (2020). การกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการกักตุนสินค้าควบคุมและการจำหน่ายสินค้าเกินราคาที่กำหนดเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. วารสารวิจยวิชาการ, 4(1), 73–86. https://doi.org/10.14456/jra.2021.7
บท
บทความวิจัย

References

กมลชัย เวทีบูรณะ. (2558). ขอบเขตการใช้บังคับพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). คณะนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กมลศักดิ์ หมื่นภักดี. (2552). การกำหนดให้ความผิดอาญาร้ายแรง ตามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ.2000 เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). คณะนิติศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). พาณิชย์เผยจับขายหน้ากากอนามัยแพงเกินจริง รวมทั่วประเทศ 276 ราย. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/875277

กฤติน พงษ์ศิริ. (2560). การกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับวัตถุอันตรายเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน: ศึกษากรณีวัตถุอันตรายทางการเกษตร. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). คณะนิติศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไทยรัฐออนไลน์. (2557). ย้อนรอยวิกฤติน้ำมันปาล์มขาดตลาด. เข้าถึงได้จาก https://www. thairath. co.th/content/404997

ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2563 เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม. (2563, 4 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 137 ตอนพิเศษ 28 ง, หน้า 55.

ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2563 เรื่อง การกำหนดราคาจำหน่ายและการแจ้งข้อมูลหน้ากากอนามัย. (2563, 6 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 137 ตอนพิเศษ 53 ง, หน้า 8-10.

พงศ์ธร พิทักษ์สกุลรัตน์. (2561).มาตรการทางกฎหมายในการกำหนดให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับยาปลอมให้เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงิน. (การศึกษาอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต). คณะนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ). (2554). พณ.ตรวจพบผู้ผลิตตุนน้ำมันปาล์ม 1 ล้านขวด จี้นำออกจำหน่ายก่อนเจอไม้แข็ง. เข้าถึงได้จาก https://www.ryt9.com/s/iq03/ 1054835

K@POOK!. (2563). ทลายคลังกักตุนสินค้าหนีภาษี จนท. ตะลึง พบ หน้ากากอนามัย - ชุด PPE มูลค่าร่วม 5 ล้าน. เข้าถึงได้จาก https://covid-19.kapook.com/view225336.html