การวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เขตลุ่มน้ำลำเชียงไกรตอนล่าง ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) ประยุกต์เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับการวิเคราะห์หาระดับความเสี่ยงภัยแล้งและระดับเสี่ยงภัยน้ำท่วมในพื้นที่ศึกษา และ 3) เสนอแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สำหรับการวางแผนป้องกันความเสียหายภาคการเกษตรจากภัยแล้งซ้ำซากและพื้นที่น้ำท่วม เขตลุ่มน้ำลำเชียงไกรตอนล่าง จังหวัดนครราชสีมา ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ วิธีดำเนินการวิจัยโดยรวบรวม และสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินในการวิเคราะห์ศักยภาพภาคการเกษตรพื้นที่ลุ่มน้ำลำเชียงไกรตอนล่าง จังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินประกอบด้วยการสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ผลของค่าเฉลี่ยประเภทจำแนกการใช้ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน 2) การประยุกต์เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับการวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงภัยแล้ง และระดับเสี่ยงภัยน้ำท่วมในพื้นที่ศึกษาได้นำเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์ในการวางแผนเพื่อป้องกันความเสียหายจากภัยแล้งซ้ำซากและภัยน้ำท่วม ในจังหวัดนครราชสีมา โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดให้ตรงกับปัจจัยต่าง ๆ และ 3) แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เขตลุ่มน้ำลำเชียงไกรตอนล่าง ประกอบด้วย 3.1) การสร้างฐานข้อมูล และแผนที่ด้านกายภาพแสดงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก และพื้นที่น้ำท่วม 3.2) วิเคราะห์โดยการซ้อนทับกับชั้นข้อมูลแผนที่ในเขตระดับหมู่บ้าน ซึ่งมีหมู่บ้านที่มีพื้นที่ในเขตเสี่ยงภัยแล้ง และภัยน้ำท่วมในระดับเสี่ยงสูง และสามารถจัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยน้ำท่วมบ่อย เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดการ หรือวางแผนป้องกันภัยล่วงหน้าอย่างเร่งด่วน 3.3) หน่วยงาน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องให้ความสำคัญในการดูแลรักษาแหล่งน้ำ 3.4) การกำหนดแนวนโยบาย ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จะต้องมีการบูรณาการเชิงพื้นที่ร่วมกัน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กาญจนา มีจริง, สาวิทตรี ทองกุ้ง และธงชัย สุธีรศักดิ์ (2562). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมและพื้นที่รับน้ำ กรณีศึกษาพื้นที่ทางทิศของจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 29(3): 372-387.
จิตราพร สวัสดี. (2554). การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งบริเวณลุ่มน้ำแม่กลางเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธีรเวทย์ ลิมโกมลวิลาศ. (2557). บูรณาการแบบจำลองภูมิสารสนเทศในการจัดการใช้ที่ดินลุ่มน้ำลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา. วิ(ทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมบัติ อยู่เมือง. (2557). การประยุกต์ใช้ภูมิสารสนเทศเพื่อกู้วิกฤติสิ่งแวดล้อมและพิบัติภัยธรรมชาติ. ศูนย์วิจัยภูมิสาสรสนเทศเพื่อประเทศไทย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เข้าถึงได้จาก http://www.gisthai.org/resource/chulaex/cuex.html.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาการเกษตร. เข้าถึงได้จาก http://www.ubu.ac.th/web/files_up /03f2017051514151068.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2557) ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.