มาตรการด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัยของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับมาตรการด้านการป้องกัน และระงับอัคคีภัยของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม และ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลต่อมาตรการด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัยของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม การวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง รวมทั้งสิ้น 140 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับมาตรการด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การเปรียบเทียบระดับมาตรการด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัยรายด้านของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบจำแนกรายด้านตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ หน่วยงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดและระยะเวลาการปฏิบัติงานต่างกันมีระดับมาตรการด้านการป้องกัน และระงับอัคคีภัยด้านองค์กร ไม่แตกต่างกัน แต่พบความแตกต่างของระดับมาตรการด้านการป้องกัน และระงับอัคคีภัย ด้านเครื่องมือที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 เมื่อพนักงานมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน ระดับมาตรการด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัยด้านองค์กร มีค่าไม่แตกต่างกัน แต่ระดับมาตรการด้านการป้องกัน และระงับอัคคีภัยด้านองค์กร มีค่าแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
โพสต์ทูเดย์. (2560). ไฟไหม้ชุมชนย่านคลองเตยวอด 30 หลังคาเรือน. เข้าถึงได้จาก https:// www.posttoday.com/social/local/478125.
วิชัย สุขคลีวนัติ และอภิชาต แจ้งบำรุง. (2555). การศึกษาและวิเคราะห์ระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารขนาดใหญ่พิเศษกรณีศึกษา: อาคารคุ้มเกล้าโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารวิศวกรรมสาร มก., 25(82), 117-126.
ศรัณน์พัชร์ ไผ่พูล. (2559). สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศศิวัฒน์ เดชอดุลย์สัตยา. (2558). ความพร้อมในการป้องกันและบรรเทาอัคคีภัยของบริษัท ลินเด้ (ประเทศไทย) จำกัด อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd.). New York: Harper and Row.