บทบาทของพนักงานอัยการกับการตรวจสอบในกระบวนการยุติธรรม: ศึกษาเฉพาะการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

Main Article Content

ศรากร สวัสดิ์มงคล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด วัตถุประสงค์ และหลักเกณฑ์ของการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2) ศึกษาแนวคิด วัตถุประสงค์ และหลักการเกี่ยวกับบทบาทการตรวจสอบการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการของไทยและต่างประเทศ 3) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาในการทำสำนวนคดีระหว่างอัยการสูงสุดและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และ 4) แก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุดในการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ ข้อมูลจากตำราและคำอธิบายต่าง ๆ หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เอกสารวิจัย ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1) การดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีขึ้นเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้มีประสิทธิภาพจึงกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนข้อเท็จจริงและส่งสำนวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อันเป็นหลักการดำเนินคดีตามกฎหมาย 2) บทบาทการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการตามหลักสากลรวมทั้งในประเทศไทยเป็นหลักการดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจที่พนักงานอัยการสามารถจะกลั่นกรองคดีอาญาก่อนขึ้นสู่ศาล 3) กฎหมายกำหนดให้อัยการสูงสุดฟ้องคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นหลัก แต่อัยการสูงสุดไม่มีอำนาจไต่สวนและไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งคดี และ 4) ให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยให้อัยการสูงสุดเข้ามามีส่วนร่วมในการไต่สวนกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งแต่เริ่มกระบวนการไต่สวน และสามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่งคดีตามฐานความผิดที่เห็นสมควร โดยมีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำหน้าที่ไต่สวนร่วมกับอัยการสูงสุดตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ

Article Details

How to Cite
สวัสดิ์มงคล ศ. (2021). บทบาทของพนักงานอัยการกับการตรวจสอบในกระบวนการยุติธรรม: ศึกษาเฉพาะการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 109–120. https://doi.org/10.14456/jra.2021.35
บท
บทความวิจัย

References

โกเมน ภัทรภิรมย์. (2533). อัยการฝรั่งเศส: ในอัยการกับการสอบสวนคดีอาญา. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการเอกสารและวิชาการกรมอัยการ.

คัมภีร์ แก้วเจริญ. (2547). การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง: ศึกษาเฉพาะขั้นตอนชั้นพนักงานอัยการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

จิตติ เจริญฉ่ำ. (2533). บทบาทของอัยการในควบคุมการสอบสวนคดีอาญา. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการเอกสารและวิชาการกรมอัยการ.

น้ำแท้ มีบุญสล้าง. (2554). กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล.

ประพันธ์ ทรัพย์แสง. (2548). การค้นหาความจริงของศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง : แนวทางปัญหาสู่ความเป็นระบบไต่สวนเต็มรูปแบบ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.