การวิเคราะห์ข้อเสนอแนะผลงานทางวิชาชีพของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพในการพัฒนา ระดับคุณภาพผลงานทางวิชาชีพของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

รุ่งโรจน์ สุทธิสุข
พันนิดา เสือจำศีล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อเสนอแนะผลงานทางวิชาชีพของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาชีพ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยการวิเคราะห์แบบผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิและแบบบันทึกประเด็นข้อเสนอแนะในการประเมินผลงานทางวิชาชีพและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพของบุคลากรสายสนับสนุน ที่ยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาชีพ และดำเนินการแล้วเสร็จ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557-30 เมษายน 2563 จำนวน 40 ราย ๆ ละ 3 ฉบับ รวมจำนวน 120 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) คู่มือการปฏิบัติงานหลัก พบว่า ควรมีการตรวจทานหรือการพิสูจน์อักษร การอ้างอิงเอกสารไม่ถูกต้องทั้งในส่วนของเนื้อหาและบรรณานุกรม ควรมีความสอดคล้องกันและเป็นไปตามหลักการอ้างอิงที่เป็นสากล อายุของเอกสาร ไม่ควรเกิน 10 ปี และการเรียบเรียงเนื้อหาสาระไม่เป็นไปตามลำดับ สับสน ไม่ครอบคลุมตามชื่อเรื่อง ขาดความเชื่อมโยงของหัวข้อ 2) ผลงานเชิงวิเคราะห์ พบว่า ควรมีการตรวจทานหรือการพิสูจน์อักษร การวิเคราะห์ข้อมูลไม่ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ รวมถึงสถิติที่ใช้เพื่อนำไปสู่การเสนอผลการวิเคราะห์ไม่เหมาะสม การนำเสนอผลการวิเคราะห์ไม่ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ ควรเรียงตามวัตถุประสงค์ รูปแบบการนำเสนอไม่น่าสนใจ การแปลข้อมูลผิดพลาด ควรกระชับ รัดกุมและอ่านเข้าใจง่าย และการใช้คำหรือวลีไม่คงเส้นคงวา 3) ผลงานวิจัย พบว่า ควรมีการตรวจทานหรือการพิสูจน์อักษร การอ้างอิงเอกสารไม่ถูกต้องทั้งในส่วนของเนื้อหาและบรรณานุกรม และเป็นไปตามหลักการอ้างอิงที่เป็นสากล และอายุของเอกสารไม่ควรเกิน 10 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลไม่ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ รวมถึงสถิติที่ใช้เพื่อนำไปสู่การเสนอผลการวิเคราะห์ไม่เหมาะสม และขาดการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ และ 4) ผลงานในลักษณะอื่น พบว่า มีรูปแบบ/โครงร่างไม่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักวิชาการ การเขียนบรรณานุกรมไม่ถูกต้อง และควรมีการตรวจทาน หรือการพิสูจน์อักษร

Article Details

How to Cite
สุทธิสุข ร., & เสือจำศีล พ. . (2021). การวิเคราะห์ข้อเสนอแนะผลงานทางวิชาชีพของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพในการพัฒนา ระดับคุณภาพผลงานทางวิชาชีพของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 49–62. https://doi.org/10.14456/jra.2021.30
บท
บทความวิจัย

References

เกศินี ชาวนา. (2563). จะเป็นระดับชำนาญงาน ชำนาญการ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษได้อย่างไร. เข้าถึงได้จาก http://www.si.mahid1.l.ac.th/metc/webstan/news/

กองบริหารงานบุคคล. (2563). ข้อมูลบุคลากรสายสนับสนุน มทร.ธัญบุรี. เข้าถึงได้จาก http://www.ped.rmutt.ac.th/

กองบริหารงานบุคคล. (2563). ข้อมูลบุคลากรสายสนับสนุนขอเข้ารับการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งสูงขึ้น. ฝ่ายกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (อัดสำเนา)

จุฑามาศ แสงอาวุธและพรนิภา จินดา. (2551). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุน. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี.

เฉลิม ฟักอ่อน. (2555). ข้อบกพร่องของผลงานทางวิชาการ. เข้าถึงได้จาก https://www. gotoknow.org/posts/405179

ชูศักดิ์ เอกเพชร. (2557). ข้อบกพร่องงานวิจัยทางการบริหารการศึกษา. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(1), 142-151.

ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร. (2560). มุมมองเกณฑ์การประเมินผลงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ กลุ่มปฏิบัติการและวิชาชีพเพื่อการดำรงตำแหน่งเชี่ยวชาญระดับต้น เชี่ยวชาญระดับกลางเชี่ยวชาญระดับสูง. เอกสารประกอบการบรรยาย สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (อัดสำเนา).

บุญชม ศรีสะอาด. (2552). ลักษณะที่ดีและลักษณะที่บกพร่องของงานวิจัยเชิงปริมาณที่เป็นปริญญานิพนธ์. เข้าถึงได้จาก http://www.watpon.in.th/boonchom/style.pdf

บุศรา โมลา. (2555). การเขียนผลงานทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ. เข้าถึงได้จาก https:// www.gotoknow.org/posts/97719

ปภาณภณ ปภังกรภูรินท์. (2562). เทคนิคการเขียนผลงานเพื่อตำแหน่งสูงขึ้น. เอกสารประกอบ การฝึกอบรมโครงการการเขียนผลงานเตรียมเข้าสู่ตำแหน่งของบุคลากรสายสนับสนุน. วันที่ 24-25 ธันวาคม 2562. ห้องวิคตอเรีย ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พจน์ สะเพียรชัย. (2554). เทคนิคการจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อใช้ประกอบการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (อัดสำเนา).

พรทิพย์ เกยุรานนท์. (2555). ปัญหาและข้อบกพร่องในงานวิจัยที่พบ. จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์, 4.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2554, 28 กรกฎาคม). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2554.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2560). ยุทธศาสตร์ 20 ปี (2560-2579) และแผนพัฒนา ระยะที่ 1 (2561-2564)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ฉบับย่อ). ปทุมธานี : กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

“พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547”. (2547, 12 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 70 ก, หน้า 33.

“พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551”. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 28 ก, หน้า 36-43.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553, 22 ธันวาคม). ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องมาตรฐาน การกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2553.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554, 13 ธันวาคม). ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องมาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552, 9 กันยายน). กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2552.

เสถียร คามีศักดิ์. (2556). การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน ฉบับปรับปรุง (กันยายน 2556). เข้าถึงได้จาก http://personnel. mju.ac.th/professional_example.php

เสถียร คามีศักดิ์. (2559). การทำงานเชิงวิเคราะห์ ฉบับปรับปรุง (มกราคม 2559). เข้าถึงได้จาก http://personnel. mju.ac.th/professional_example.php

อุทัย หามนตรี. (2559). ข้อเสนอแนะของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ในการพัฒนาระดับคุณภาพผลงานทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(3), 167-177.

ฤทธิไกร ไชยงาม. (2559). แนะนำ “การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน” ในการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน. มหาสารคาม: สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (อัดสำเนา).