การศึกษาการนำโทษประหารชีวิตมาปรับใช้กับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา

Main Article Content

สีรุ้ง สินตะคุ
ปวินี ไพรทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการของการลงโทษในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา 2) ศึกษาเปรียบเทียบการลงโทษประหารชีวิตในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย 3) ศึกษาการนำโทษประหารชีวิตมาใช้กับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา และ 4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงการนำโทษประหารชีวิตมาปรับใช้กับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากประมวลกฎหมาย หนังสือกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา บทความ วารสาร เอกสารข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์  ทั้งกฎหมายของประเทศไทย และกฎหมายของต่างประเทศ โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ผลการวิจัย พบว่า 1) ประเทศไทยได้มีวิวัฒนาการการลงโทษในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) จากการศึกษาเปรียบเทียบการลงโทษประหารชีวิตระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย พบว่าประเทศอินเดียกำหนดให้ลงโทษประหารชีวิตในคดีที่ข่มขืนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี 3) ปัจจุบันการลงโทษประหารชีวิตในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) ปี พ.ศ. 2562 กำหนดให้ลงโทษประหารชีวิตเฉพาะกรณีที่ผู้กระทำความผิดทำให้ผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตายเท่านั้น แต่การถูกข่มขืนกระทำชำเราถือเป็นสิ่งที่มีผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อถูกข่มขืนกระทำชำเราถือเป็นสิ่งที่ร้ายแรงที่สุดของผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเรา จึงควรกำหนดกฎหมายให้มีโทษที่รุนแรง และ 4) เพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งมิให้เกิดการกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา จึงเสนอแนะให้มีการนำโทษประหารชีวิตมาปรับใช้กับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา

Article Details

How to Cite
สินตะคุ ส., & ไพรทอง ป. . (2021). การศึกษาการนำโทษประหารชีวิตมาปรับใช้กับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 121–134. https://doi.org/10.14456/jra.2021.36
บท
บทความวิจัย

References

ข่าวสดออนไลน์. (2562). จับแล้ว ไอ้ลุ๊บ หนุ่มหื่นเพิ่งพ้นโทษคดี ฆ่าข่มขืน หวนท้าซ ้ารอย ฉุดสาวหวังขืนใจ. เข้าถึงได้จาก https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_3032345

ชลทิพย์ สุริสาร. (2561). 6 ปี อันสูญเปล่า “อินเดีย” เหลวขจัดข่มขืน. เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/world/559085

ต่างประเทศ. (2561). อินเดียอนุมัติโทษประหารชีวิตคดีข่มขืนเยาวชน. เข้าถึงได้จาก https://news.thaipbs.or.th/content/271787

ไทยรัฐออนไลน์. (2559). ปาดคอครูสาวดับคาห้องเช่าสระบุรี คาดคนร้ายบุกช้าเรา แต่ขัดขืนเลยถูกฆ่า. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath. co.th/ content /653176

ไทยรัฐออนไลน์. (2559). ข่มขืน ประหาร เมืองไทยควรลงโทษ “ไอ้หื่น” อย่างไร. เข้าถึงได้จาก https://www. thairath.co.th/content/655622

พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์. (ร.ศ. 120). กฎหมายลักษณะผัวเมีย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กองลหุโทษ ร.ศ. 120.

“พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2562”. (2562, 27 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเษกษา, เล่มที่ 136 ตอนที่ 69 ก, หน้า 127-134.

สุมนทิพย์ จิตสว่าง. (2561). โทษประหารชีวิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Law Library. (2563). พระราชบัญญัติกฎหมายอาญา (แก้ไข) พระราชบัญญัติ 2013. เข้าถึงได้จาก https://www. advocatekhoj.com/library/bareacts/ criminallawamendment