รูปแบบการบริหารเชิงพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ

Main Article Content

พระครูสิริภูรินิทัศน์ ฐิตสคฺโค (ดิษสวรรค์)
วิรัช จงอยู่สุข
ปฏิธรรม สำเนียง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารเชิงพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารเชิงพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารเชิงพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยแบบวิธีผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน การสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 รูปหรือคน การประเมินรูปแบบกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 รูปหรือคน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารเชิงพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้แก่ 1.1) การบริหารด้านหลักสูตร 1.2) การบริหารด้านกิจกรรม 1.3) การบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ ส่วนการบริหารจัดการเชิงพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ บูรณาการกับหลักภาวนา 4 ประกอบด้วย กายภาวนา ศีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา 2) รูปแบบการบริหารเชิงพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้แก่ 2.1) การบริหารหลักสูตร ประกอบด้วย ด้านกายภาวนา จัดหลักสูตรสุขภาพกายเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ด้านศีลภาวนา จัดหลักสูตรการใช้ชีวิตในวัยสูงอายุ ด้านจิตตภาวนา จัดหลักสูตรสุขภาพกายเกี่ยวกับอารมณ์ ด้านปัญญาภาวนา จัดหลักสูตรการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน เป็นต้น 2.2) การบริหารกิจกรรม ประกอบด้วย ด้านกายภาวนา จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพร่างกายผ่านการออกกำลังกาย ด้านศีลภาวนา จัดกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและคนวัยอื่น ด้านจิตตภาวนา จัดกิจกรรมนันทนาการ ด้านปัญญาภาวนา จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ 2.3) การบริหารจัดการ ประกอบด้วย ด้านกายภาวนา ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีส่วนร่วมกิจกรรมทางศาสนา ด้านศีลภาวนา ส่งเสริมบุคลากรและผู้สูงอายุในชุมชนให้มีกิริยา มารยาท และใช้วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ด้านจิตภาวนา ส่งเสริมสร้างแรงจูงใจให้กับผู้สูงอายุมีกำลังใจในการดำเนินชีวิต และ ด้านปัญญาภาวนา ส่งเสริมผู้สูงอายุให้ใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาตามหลักภาวนา 4 เป็นต้น และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเชิงพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า รูปแบบมีความถูกต้องและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด รูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
(ดิษสวรรค์) พ. ฐ. ., จงอยู่สุข ว. ., & สำเนียง ป. . (2021). รูปแบบการบริหารเชิงพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 13–26. https://doi.org/10.14456/jra.2021.27
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงอายุฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุกรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). คู่มือผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กันยา วงศ์ชัยวัฒน์. (2561). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุหลังเกษียณอายุ. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูโสภณพุทธิศาสตร์. (2562). โรงเรียนผู้สูงอายุ: การจัดการสุขภาวะและสวัสดิการผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 961.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการสร้างเครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.): มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูมิศักดิ์ สนามชัยสกุล และคณะ. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. (รายงานการวิจัย). คณะเทคโนโลยีการเกษตร: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ณัฐนันทพล โปรเทียรณ์. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนสอนดนตรี กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุพิน ทรัพย์แก้ว. (2558). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครศรีธรรมราช. (รายงานการวิจัย). นครศรีธรรมราช: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร ภาวนา พัฒนศรี และธนิกานต์ ศักดาพร. (2560). การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุการถอดบทเรียนตัวอย่างที่ดีของโรงเรียนและชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมถ่ายทอดความรู้: กรณีศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).