รูปแบบพุทธวิธีการบริหารหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศึกษาของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

พระครูใบฎีกามณฑล เขมโก (ชูโตศรี)
วรกฤต เถื่อนช้าง
อานนท์ เมธีวรฉัตร
สุวัฒน์ แจ้งจิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตร สร้างรูปแบบและประเมินรูปแบบพุทธวิธีการบริหารหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษาของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตร โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูปหรือคน และวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาการสร้างรูปแบบพุทธวิธีการบริหารหลักสูตร โดยการจัดสนทนากลุ่ม จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบโดยมีผู้เชี่ยวชาญร่วมประเมินรูปแบบ จำนวน 7 รูปหรือคน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบพุทธวิธีการบริหารหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษาของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 1) ควรหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อร่วมกันวางแผนการประชุม วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย อุปสรรค และโอกาสของสาขา  เพื่อให้สาขาวิชาสังคมศึกษามีคุณภาพ รวมถึงวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนรายจ่ายประจำปี 2) เมื่อมีการประชุม ขณะประชุมหรือเลิกประชุมแล้ว ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นทีมแบบมีส่วนร่วม นำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยวิธีการวัด ประเมินผล และวิเคราะห์ 3) ไม่ควรบัญญัติสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน ไม่ยกเลิกสิ่งที่ระเบียบหรือกฎที่มีมติส่วนใหญ่ไว้แล้ว  4) ควรให้ความเคารพต่อประธานในที่ประชุม ให้เกียรติความเป็นผู้นำของประธาน และจะต้องทำงานด้วยความเมตตา กรุณาต่อกัน 5) ไม่ควรลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น คือ ให้ความเหมาะสม ความยุติธรรม แก่ทุกคน และจัดสรรงบประมาณให้ตามความเหมาะสม 6) ควรเคารพซึ่งกันและกัน โดยยึดเนื้อหาที่แท้จริง ต้นแบบทางวัฒนธรรม 7) ควรดูแล รักษา คุ้มครอง ยกย่องคุณความดี ให้ความสำคัญต่อคนดีที่มีคุณธรรมและผลงานดีพร้อมจัดงบประมาณพัฒนา

Article Details

How to Cite
(ชูโตศรี) พ. เ. ., เถื่อนช้าง ว. ., เมธีวรฉัตร อ. ., & แจ้งจิต ส. . (2021). รูปแบบพุทธวิธีการบริหารหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศึกษาของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 27–40. https://doi.org/10.14456/jra.2021.28
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.

ชาญณรงค์ ยาสุทธิ. (2562). รูปแบบพุทธบูรณาการการเสริมสร้างแรงจูงใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เตือนใจ รักษาพงศ์. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาชั้นพื้นฐานด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารการบริหารการศึกษา, 2(1), 55-67.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

เบญจา ศิริผล. (2557). รูปแบบการบริหารงบประมาณและสินทรัพย์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 10(1), 223-234.

พรจันทร์ พรศักดิ์กุล. (2550). รูปแบบกระบวนการงบประมาณของโรงเรียนที่บริหารงบประมาณ แบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระราชปริยัติ (สฤษดิ์ ประธาตุ). (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เพชริน สงค์ประเสริฐ. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาชั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (รายงานการวิจัย). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รวงทอง ถาพันธุ์. (2558). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินผลการเรียนรูสำหรับครูประถมศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วินัย ภูมิสุข. (2558). การพัฒนาการบริหารหลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี ประเด็นทางการศึกษาและบทวิเคราะห์องค์การศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์พิสุทธ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อนันต์ เตียวต๋อย. (2551). รูปแบบการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปกร.

Katz, L. Robert. (1955). Skills of an Effective Administrator. Harvard Business Review, 12(1), 33-42.