การแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิง เรือนจำกลางนครสวรรค์ โดยการบูรณาการตามหลักเบญจธรรม

Main Article Content

โชติกา แก่นธิยา
พระเทพปริยัติเมธี
สุกัญญาณัฏฐ อบสิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิง เรือนจำกลางนครสวรรค์ โดยการบูรณาการตามหลักเบญจธรรม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถาม ประชากรจำนวน 151 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ และสถิติเชิงอนุมานโดยวิเคราะห์การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 23 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิง เรือนจำกลางนครสวรรค์ ประกอบด้วย 1) ด้านความผูกพัน ควรส่งเสริมความผูกพันในครอบครัวให้กับผู้ต้องขัง ผ่านกิจกรรมเสริมสร้างความรัก ความอบอุ่นและความเข้าใจภายในครอบครัว รวมถึงการบูรณาการหลักธรรมเพื่อยึดเหนี่ยวทางจิตใจ 2) ด้านข้อผูกมัด ควรพัฒนาศักยภาพผู้ต้องขัง เน้นการให้การศึกษา ส่งเสริมการฝึกอาชีพผู้ต้องขังตามถนัด ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน และส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา 3) ด้านการเข้าร่วม เน้นการปรับทัศนคติ ค่านิยมที่ถูกต้องให้กับผู้ต้องขัง การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยให้กับผู้ต้องขังที่ใกล้ปล่อยตัวทุกคน และการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนในการดำเนินงานของกรมราชทัณฑ์ 4) ด้านความเชื่อ ผู้ต้องขังต้องได้รับการพัฒนาจิตใจ เจริญสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่อง เป็นแนวทางในการกล่อมเกลาจิตใจ ฟื้นฟู ปรับสภาพจิตใจ และส่งเสริมผู้ต้องขังร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคม 5) ด้านการเรียนรู้ทางสังคมขณะอยู่ในเรือนจำ สอดแทรกหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาในทุกกิจกรรมของผู้ต้องขังให้ผู้ต้องขังเกิดความศรัทธา ไม่กระทำความผิดซ้ำอีก มีหลักการในการดำเนินชีวิต รวมถึงการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจในเรื่องของโทษและพิษภัยยาเสพติด

Article Details

How to Cite
แก่นธิยา โ., พระเทพปริยัติเมธี, & อบสิน ส. (2021). การแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิง เรือนจำกลางนครสวรรค์ โดยการบูรณาการตามหลักเบญจธรรม. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 215–224. https://doi.org/10.14456/jra.2021.44
บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2562). รายงานการตรวจเยี่ยมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและมอบนโยบายให้กรมราชทัณฑ์ 19 สิงหาคม 2562. (อัดสำเนา).

กรมราชทัณฑ์. (2562). รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ: เรือนจำ/ทัณฑสถานอิสระ. เข้าถึงได้จากhttp://www.correct.go.th/rt103pdf/report_table.php?date=2019-11-01&area=6&report=

แดนหญิง เรือนจำกลางนครสวรรค์. (2562). ฐานข้อมูลผู้ต้องขังหญิง. ข้อมูล ณ 1 พฤศจิกายน 2562. (อัดสำเนา).

นริศรา พลอยเพ็ชร์. (2558). การประยุกต์ใช้หลักธรรมเพื่อเป็นแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 2(3), 53-70.

พัชรียา ก้อนแพง. (2559). ปัจจัยเกี่ยวกับความผูกพันทางสังคมและการควบคุมตนเองที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำ เกี่ยวกับคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถานหญิงกลาง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.