ลุ่มน้ำนครสวรรค์ : การสร้างเครือข่ายและการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมตามแนวพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระศรีสมโพธิ (วรัญญู สอนชุน)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบและแนวทางการจัดการเชิงเครือข่ายมรดกทางวัฒนธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาในเขตลุ่มน้ำนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนามโดยการวิจัยเชิงเอกสาร การสำรวจข้อมูลเชิงพื้นที่ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูป/คน การสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูป/คน การประชุมสัมมนาในเชิงวิชาการกับผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 40 รูป/คน และการประชาคมเพื่อคืนข้อมูลกับผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 100 รูป/คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการเชิงเครือข่ายมรดกทางวัฒนธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาในเขตลุ่มน้ำนครสวรรค์ ประกอบด้วย รูปแบบ 3E และรูปแบบ LINK ได้แก่ E1= Education การให้ความรู้ E2= Engineering การสร้างสรรค์และประดิษฐ์นวัตกรรม E3= Enforcement การดำเนินการตามกฎระเบียบ L= Learning การเรียนรู้จากตัวอย่างที่ดี I= Information การประชาสัมพันธ์ N= Network การมีส่วนร่วม K= Knowledge เกิดองค์ความรู้ในท้องถิ่น และแนวทางการจัดการเชิงเครือข่ายมรดกทางวัฒนธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาในเขตลุ่มน้ำนครสวรรค์ ประกอบด้วย 7 ประการ คือ 1. การสร้างองค์ความรู้ 2. เครือข่ายต้องมีความเห็นพ้องต้องกันในการเห็นความสำคัญ 3. การสร้างความตระหนักในการหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรม 4. การสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนในการสร้างเครือข่ายจัดการมรดกทางวัฒนธรรม 5. การเผยแพร่องค์ความรู้ 6. การบังคับใช้กฎเกณฑ์ ข้อปฏิบัติ ข้อบัญญัติ และ 7. การฟื้นฟู ผลิตซ้ำ และสร้างใหม่

Article Details

How to Cite
พระศรีสมโพธิ (วรัญญู สอนชุน). (2020). ลุ่มน้ำนครสวรรค์ : การสร้างเครือข่ายและการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารวิจยวิชาการ, 4(1), 37–46. https://doi.org/10.14456/jra.2021.4
บท
บทความวิจัย

References

พระครูสุตวิสุทธิคุณ (พัด). (2552). รูปแบบการจัดการที่เหมาะสมวัดโสธรวรารามวรวิหารในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา จากความเชื่อ พิธีกรรมของประชาชนเกี่ยวกับหลวงพ่อพระพุทธโสธร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์ และคณะ. (2557). การจัดการความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 29(2).

วิจารณ์ พานิช. (2551). การจัดการความรู้จากงานประจำสู่งานวิจัย. หมออนามัย, 18(1), 25-28.

สาธิต กฤตาลักษณ์. (2551). การศึกษารูปแบบการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาโบราณสถานในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุภรณ์ โอเจริญ. (2528). นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครูนครสวรรค์.

Leidner, D., Alavi, M. and Kayworth, T. (2006). The Role of Culture in Knowledge Management: A Case Study of Two Global Firms. International Journal of e-Collaboration, 2(1), 17-40.